ช่างไฟจะรับมืออย่างไรเมื่อเจอสายไฟขาด

2021 - 07 - 21

สำหรับช่างไฟฟ้าแล้วหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับปัญหางานสายไฟอยู่เสมอ ช่างไฟจำเป็นต้องรู้วิธีการแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างเช่น สายไฟฟ้าขาด สายไฟชำรุด หรืออื่น ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อการใช้งานอย่างแน่นอน ปัญหาของสายไฟขาดส่วนใหญ่มักมาจากการใช้งานเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน อีกทั้งในบางพื้นที่ที่ไม่มีอุกรณ์ป้องกันสายไฟอาจยังต้องตากแดด ลม ฝน เป็นเวลานานทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ ต้องคำนึงอยู่เสมอว่าสายไฟฟ้าทุกชนิดอันตราย อย่าคิดว่าไม่เห็นประกายไฟ หรือไม่มีเสียงแล้วจะไม่เป็นอะไร

 

วิธีรับมือเมื่อสายไฟขาด

เมื่อพบเจอสายไฟฟ้าขาด อาจยังมีกระแสไฟหลงเหลืออยู่ เนื่องจากระบบการทำงานของไฟฟ้ายังไม่ตัดไฟในทันที ถึงแม้ว่าสายไฟฟ้านั้นจะมีฉนวนหุ้มอยู่ก็ไม่สามารถเข้าใกล้ หรือจับสายไฟที่มีฉนวนนั้นได้ อาจได้รับอันตรายตั้งแต่บาดเจ็บ ไปจนถึงบาดเจ็บสาหัส จากการถูกไฟช็อต ไฟดูด ได้

 

ขั้นตอนแรกในการรับมือของช่างไฟ ก็คืออย่าเดินเข้าไปใกล้ และสัมผัสสายไฟที่ชำรุด โดยสามารถประเมินงาน หรือค่อย ๆ เดินลากเท้าไปทีละนิด โดยให้เท้าทั้งสองข้างอยู่ติดกันอยู่ตลอดให้เท้าแตะพื้นดินตลอดเวลา เพราะจะช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้าที่จะวิ่งผ่านตัวของช่างไฟ อีกทั้งยังสามารถลดความรุนแรงที่อาจเกิดจากไฟฟ้าช็อตได้อีกด้วย

 

ตามหลักการของไฟฟ้า กระแสไฟจะวิ่งจากบริเวณที่มีความต่างศักย์สูงไปยังบริเวณที่มีความต่างศักย์ต่ำกว่า ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าอาจวิ่งผ่านร่างกายของผู้ที่บังเอิญไปสัมผัส หรืออยู่ใกล้ได้

 

ในขณะที่ช่างไฟจะต้องเข้าไปดำเนินการแก้ไขสายไฟฟ้าขาดนั้น ควรให้ตำแหน่งของสายไฟอยู่ห่างพอสมควรก่อนเริ่มงาน จากนั้นจึงตรวจดูให้แน่ใจว่าผู้ปฏิบัติงานได้สวมใส่อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย และเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมแล้วหรือยัง ช่างไฟไม่ควรแตะต้องสิ่งใด ๆ ที่สัมผัสกับสายไฟ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษหากมีรั้วที่อยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้า ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าด้วยเครื่องมือที่แม่นยำอยู่เสมอ นอกจากนี้ช่างไฟควรได้รับการอบรม และเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาจนเป็นระดับช่างไฟฟ้าชำนาญงานแล้ว จากนั้นเมื่อประเมินสถานการณ์ได้แล้วหากสามารถตัดแต่งสายไฟฟ้าได้ ให้ใช้อุปกรณ์สำหรับต่อสายไฟฟ้าใหม่ ควรตรวจสอบแรงดันและกระแสไฟฟ้าหลังจากการแก้ไขปัญหาเพื่อลดข้อผิดพลาด

 

สายไฟที่มีการขาดไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ก่อนที่จะลงมือซ่อมแซมแนะนำว่าให้ตรวจสอบสายไฟฟ้าให้ดีก่อนว่ามีการเสียหายไปถึงสายทองแดงหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้โดยการใช้ไขควงเช็คไฟแตะบริเวณสายไฟว่ามีไฟสว่างขึ้นมาหรือไม่ หากพบว่ามีกระแสไฟฟ้าอยู่ ควรทำการตัดไฟก่อนการซ่อมแซมเพื่อป้องกันอันตราย จากนั้นให้ทำการปลอกสายฉนวนสีขาวภายนอกออกในบริเวณสายไฟที่เสียหาย เพื่อแยกสายไฟที่อยู่ภายในออกจากกัน

 

ตรวจเช็คในส่วนของสายไฟที่เสียหายว่ามีขนาดประมาณไหนแล้วใช้เทปพันสายไฟพันทับสายไฟแต่ละเส้น ในส่วนที่ปลอกเอาสายฉนวนออกก็ให้ทำการพันสายไฟด้วยเทปพันสายไฟแต่ละเส้นสัก 5 รอบโดยประมาณ สุดท้ายนั้นให้ช่างไฟทำการพันรวมสายไฟทั้งสองเส้นเข้าด้วยกัน เพื่อความละเอียดอ่อนในการจบงานที่สวยงามช่างไฟควรพันให้สายไฟใหม่มีขนาดเท่ากับสายไฟเดิมแล้วยึดสายไฟใหม่เข้ากับสายไฟเดิมให้เนียนที่สุด ที่สำคัญคือระวังถึงความปลอดภันในการทำงานอยู่เสมอ

 

สำหรับการป้องกันสายไฟฟ้าขาดอาจป้องกันเบื้องต้นได้ด้วย การใช้รางครอบสายไฟเพื่อเป็นเกราะป้องกันความปลอดภัยให้กับสายไฟฟ้า ที่สามารถป้องกันได้ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็กสัตว์น้อยเข้าไปกัดแทะ กันฝุ่น กันน้ำ ที่สำคัญคือต้องเลือกสินค้าที่ได้มาตรฐานอย่างตู้ไฟ รางไฟ KJL ควบคุมการผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทุกขึ้นตอน สามารถสั่งทำได้ตรงตามการใช้งาน ใช้ได้ยาวนานกว่า 10 ปี ความคุ้มค่าที่มาพร้อมกับความปลอดภัย ช่างไฟส่วนใหญ่ไว้ใจ KJL