ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564 (วสท. 022001-22) มีการเพิ่มเติมวิธีการเดินสายไฟในระบบแรงต่ำ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ในรางไฟ หรือ รางวายเวย์ อนุญาตให้ใช้รางเดินสายไฟได้ เฉพาะการติดตั้งในที่เปิดโล่ง ซึ่งสามารถเข้าถึงเพื่อตรวจสอบและบำรุงรักษา ได้ตลอดความยาวของรางเดินสาย
ฝ้าเพดานนั้นต้องเป็นชนิดที่เปิดได้ เช่น ฝ้าเพดานแบบที-บาร์ หรือฝ้าเพดานฉาบเรียบ ที่มีช่องเปิด ซึ่งสามารถเข้าถึง เพื่อตรวจสอบและบำรุงรักษาได้ ตลอดความยาวของรางวายเวย์ ทั้งนี้ต้องมีที่ว่างเหนือรางเดินสาย ไม่น้อยกว่า 200 มิลลิเมตร ยกเว้นช่วงที่ผ่านใต้คาน (มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ปี 2556 จะไม่อนุญาตใช้รางเดินสายในฝ้าเพดาน)
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฉบับปัจจุบัน ให้คำแนะนำที่ชัดเจนมากขึ้น คือ กำหนดให้รางเดินสายไฟที่ติดตั้งนอกอาคาร ต้องเป็นชนิดที่มีระดับการป้องกันไม่น้อยกว่า IPx4 (มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ปี 2556 จะระบุว่าต้องเป็นชนิดกันฝน หรือ Raintight)
ส่วนระยะการจับยึดรางเดินสาย มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฉบับปัจจุบัน กำหนดไว้ดังนี้
รางวายเวย์ต้องจับยึดอย่างมั่นคงแข็งแรงทุกระยะ ไม่เกิน 1.50 เมตร โดยอนุโลมให้มีระยะจับยึดรางเดินสายมากกว่าได้ถ้าจำเป็น แต่ต้องไม่เกิน 3.00 เมตร
การติดตั้งรางวายเวย์ในแนวดิ่งนั้น ต้องมีการจับยึดอย่างมั่นคงแข็งแรง ทุกระยะไม่เกิน 4.50 เมตร และห้ามมีจุดต่อเกิน 1 จุด ในแต่ละระยะจับยึด และจุดจับยึดต้องห่างจากปลายรางเดินสายไม่เกิน 1.50 เมตร และจุดปลายรางเดินสายต้องปิด
ทั้งนี้มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ฉบับปัจจุบัน ยังมีข้อห้ามติดตั้งหรือใช้งานเดินสายใน 3 กรณี (เหมือนเดิมกับมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ปี 2556) ได้แก่
บทสรุปที่ได้จากมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ฉบับปัจจุบันพบว่า มีการกำหนดการใช้งานและติดตั้งรางไฟที่ชัดเจนและยืดหยุ่นขึ้น เพื่อให้การติดตั้งรางเดินสายไฟเป็นไปอย่างสมเหตุผลมากขึ้น โดยยังอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยเป็นสำคัญ สามารถติดตั้งรางเดินสายไฟในฝ้าเพดาน และการเลือกใช้รางไฟชนิดที่มีระดับการป้องกันไม่น้อยกว่า IPx4 เมื่อต้องการติดตั้งนอกอาคาร
หากต้องการสินค้าที่ได้มาตรฐาน ทาง KJL เรามีผลิตภัณฑ์รางไฟ หรือ รางวายเวย์ให้เลือกใช้งานหลายประเภท หลายขนาด และหลากหลายชนิดวัสดุของรางเดินสายไฟ โดยเฉพาะรางเดินสายไฟที่พ่นสีพิเศษ (Power coating with various colors) เพื่อให้สถาปนิกสามารถออกแบบให้การติดตั้งรางเดินสาย สอดคล้อง เหมาะสม และสวยงาม ไปพร้อมกับสถาปัตยกรรมการตกแต่งทั้งภายในและภายนอกอาคาร
โดยวิศวกรไฟฟ้า ช่างไฟฟ้า สามารถเลือกใช้งาน และติดตั้งให้ตอบสนองต่อความต้องการของสถาปนิกและเจ้าของอาคาร รวมทั้งมีความปลอดภัย รวมทั้งเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ที่กำหนดไว้
สอบถามข้อมูลตู้ไฟ รางไฟ KJL ได้ที่
LINE Official Account: @KJL.connect
Facebook Page: facebook.com/KJLElectric