ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับการติดตั้งสายดิน

2021 - 09 - 16

ภาพเปิดบทความเรื่อง ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับการติดตั้งสายดิน

สายดินเป็นสิ่งที่ได้ยินบ่อยมาก และเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับงานไฟฟ้ามาอย่างยาวนาน สายดินเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นสายไฟที่ต่อจากอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในไหลลงไปสู่ดิน สายดินเป็นเส้นทางที่สามารถนำกระแสไฟฟ้าที่เกิดการรั่วไหลเหมือนการตัดไฟให้ไม่เป็นอันอันตรายต่อคน โดยใช้สายดินเป็นเส้นทางให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลกลับไปยังหม้อแปลงไฟฟ้าทำให้เครื่องตัดไฟทำงาน

และที่สำคัญในปัจจุบันการไฟฟ้านครหลวงออกข้อกำหนดมาอย่างชัดเจนแล้วว่า อาคาร โรงงาน บ้านเรือน หรือสถานที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้า ควรที่จะต้องต่อสายดินเพื่อความปลอดภัย นำมาใช้สำหรับผู้ยื่นของไฟฟ้ารายใหม่ เนื่องจากสมัยก่อนมีผู้ที่ประสบอันตรายจากไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก จึงเป็นข้อบังคับที่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม เพื่อความปลอดภัยสำหรับการใช้งานไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งจุดประสงค์ของการต่อสายดินอันดับ 1 ก็คือความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน และช่างไฟในการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม อีกทั้งยังช่วยป้องกันไฟช็อต ไฟดูด ไฟฟ้าลัดวงจรได้อีกด้วย โดยสายดินสามารถจำกัดแรงดันเกินของไฟฟ้าที่อาจจะเกิดจากฟ้าผ่า นอกจากนั้นสายดินยังทำให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินทำงานได้เร็วขึ้นเมื่อเกิดการลัดวงจรลงดิน

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้งสายดินสำหรับช่างไฟ

  1. สำรวจและคำนวณจุดต่อลงดินของระบบไฟฟ้าที่เป็นจุดต่อลงดินของเส้นศูนย์ หรือนิวทรัลโดยจะต้องอยู่ในด้านไฟเข้าเครื่องตัดวงจรตัวแรกของตู้ไฟ หรือตู้เมนสวิตช์
  2. สิ่งที่ควรคำนึงต่อมาในการติดตั้งสายดินคือภายในอาคารหลังเดียวกันไม่ควรมีจุดต่อลงดินมากกว่า 1 จุด
  3. สายดินจะสามารถต่อร่วมกันได้เพียงแค่ที่เดียวที่เป็นจุดต่อลงดินภายในตู้ไฟเมนสวิตช์เท่านั้น **ข้อสำคัญคือห้ามต่อสายดินร่วมกันในตู้ไฟตู้อื่น หากเป็นในแผงสวิตช์ย่อยจะต้องมีขั้วสายดินแยกจากขั้วต่อสายนิวทรัล และห้ามต่อถึงกันโดยต้องมีฉนวนคั่นระหว่างขั้วต่อสายนิวทรัลกับตัวตู้ไฟที่ต่อกับขั้วต่อสายดิน
  4. สำหรับข้อควรระวังในการต่อสายดินสำหรับบ้านเรือนนั้นไม่ควรต่อโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินโดยตรง ควรมีเมนสวิตช์อย่างถูกต้อง แล้วค่อยเดินสายดินจากเมนสวิตช์มาต่อร่วมกับสายดินที่ใช้อยู่เดิม
  5. ไม่ควรใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ชนิด 120/240 V กับระบบไฟ 220V เพราะพิกัด IC จะลดลงถึงประมาณครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว
  6. ควรติดตั้งเครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่วเพื่อเสริมการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าให้มั่นคงยิ่งขึ้น
  7. หากตู้ไฟหลักที่ใช้ภายในไม่มีขั้วต่อสายดิน และขั้วต่อสายเส้นศูนย์แยกออกจากกัน ก็อาจทำให้เครื่องตัดไฟรั่วใช้ได้เฉพาะในวงจรย่อยเท่านั้น โดยไม่สามารถป้องกันทั้งระบบได้
  8. ในขณะที่ช่างไฟคนไหนทำงานไฟฟ้าควรตรวจสอบให้แน่ใจอยู่เสมอว่าวงจรสายดินที่ทำงานอยู่ในสถาวะปกตินั้นจะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล
  9. และเมื่อเดินสายไฟในรางไฟโลหะ จะต้องเดินสายดินในรางไฟโลหะด้วย
  10. ในส่วนของอุปกรณ์ติดตั้งที่เป็นโลหะนั้นควรต่อลงดิน หรือจะต้องอยู่เกินระยะที่คนทั่วไปแตะต้องไม่ถึง โดยจะต้องมีความสูงประมาณ 2.40 เมตร หรือห่าง 1.50 เมตร ในแนวราบ

 

 

ขนาดและชนิดของอุปกรณ์ที่ติดตั้งระบบสายดินนั้นจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎการเดินสาย และติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อความปลอดภัย และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายดินอีกหนึ่งอย่างคือ หลักดินที่จะต้องทำด้วยโลหะที่แข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นสนิม โดยต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 5/8 นิ้ว และยาว 2.40 เมตร ซึ่งในการต่อสายดินเข้ากับหลักดินวิธีที่ดีที่สุด คือ ใช้หัวต่อชนิดเผาให้หลอมละลายเพราะมันจะเชื่อมละลายสายต่อหลักดิน และหลักดินให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

 

ซึ่งจากข้อมูลจะพบว่า การต่อสายดินค่อนข้างที่จะสำคัญ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับตู้ไฟด้วย ซึ่งนอกจากที่ช่างไฟจะต้องเลือกวัสดุสายดินที่มีคุณภาพแล้ว ก็จะต้องเลือกใช้ตู้ไฟ รางเดินสายไฟ ที่มีคุณภาพด้วยเช่นเดียวกัน สิ่งที่เราจะย้ำเตือนอยู่เสมอก็คือตู้ไฟ รางไฟที่ดีต้องมีการรับรองการผลิตที่ถูกต้อง แข็งแรง ทนทาน กันน้ำกับฝุ่นเพื่อการใช้งานในระยะยาว และถ้าหากเลือกอุปกรณ์ที่เคียงข้างช่างไฟอย่างตู้ไฟ รางไฟ ของ KJL นั้นก็จะช่วยให้วางใจได้เรื่องความปลอดภัย และทำงานง่ายอย่างแน่นอน

 

ขอบคุณที่มาจาก http://www2.dede.go.th/bhrd/old/web_display/websemple/Residential(PDF)/5_Bay52%20Safety%20Switching_Rev1.pdf

www.mea.or.th

 

KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น

สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ 

LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo

Facebook: facebook.com/KJLElectric