หน่วยวัดปริมาณค่าทางวิทยาศาสตร์ จะเริ่มต้นจาก “SI base units” หรือ “หน่วยฐานเอสไอ” ซึ่งเป็นระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (International system of units) กำหนดไว้เป็นพื้นฐาน สำหรับการวัดค่าปริมาณทางฟิสิกส์ ประกอบไปด้วย ปริมาณฐาน และหน่วยฐาน ซึ่งจะมีฐานการวัดอยู่ 7 หน่วยวัด
ทั้งนี้ค่าปริมาณอนุพันธ์จะเกิดจากการคูณ หรือการหารของหน่วยฐานเอสไอ เพื่อใช้ในเรื่องการวัดและการแสดงปริมาณค่าต่าง ๆ ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะสมการทางฟิสิกส์ โดยหน่วยใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นจะเรียกว่า “หน่วยอนุพันธ์” (Derived units) ซึ่งสามารถมีได้มากมายไม่จำกัด ในส่วนของค่าปริมาณหน่วยวัดไฟฟ้าอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากกระแสไฟฟ้าที่เป็นปริมาณฐาน ก็เกิดจากกระบวนการนี้เช่นกัน
ทั้งนี้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (Capital letters) หรือ พิมพ์เล็ก (Lower letters) จะมีความสำคัญที่ช่างไฟรวมทั้งวิศวกรทุกท่านควรให้ความสำคัญ และระมัดระวังในการเขียนสัญลักษณ์หน่วยวัดไฟฟ้า เพราะในบางกรณีมีคำนำหน้าหน่วย หรือคำอุปสรรค (Prefix) เพื่อใช้ลดตัวเลขศูนย์ที่แสดงในจำนวนที่เป็นตัวเลข เช่น ค่าแรงดันไฟฟ้าปานกลางที่ 24,000 V สามารถเขียนหน่วยวัดทางไฟฟ้าได้เป็น 24 kV โดย k แทนตัวเลข 1,000 หรือค่าพลังงานไฟฟ้า 300 หน่วยหรือยูนิต จะมีที่มาจาก ค่าพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 300 kWh หรือ 300,000 Wh เป็นต้น (k คือคำอุปสรรค แต่ K คือหน่วยพื้นฐาน)
นอกจากหน่วยวัดทางไฟฟ้าแล้ว อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบงานไฟฟ้าก็ควรให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นตู้ไฟ รางครอบสายไฟ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านรองรับในระดับสากล
KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่
LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo
Facebook: facebook.com/KJLElectric