ช่างไฟต้องรู้! เลือกระดับการป้องกันของตู้ไฟอย่างไร ให้เหมาะกับสถานที่ติดตั้ง

2022 - 04 - 21

เลือกระดับการป้องกันของตู้ไฟอย่างไร

การติดตั้งบริภัณฑ์ทางไฟฟ้าอย่างตู้ไฟ, ตู้ MDB ให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานนั้น การกำหนดมาตรฐานระดับชั้นการป้องกันของเปลือกหุ้มบริภัณฑ์ไฟฟ้า (รหัส IP) อ้างอิงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 513-2553 จึงมีความจำเป็น เพื่อให้ผู้ใช้งานบริภัณฑ์ทางไฟฟ้ามีความปลอดภัยสูงสุดในการใช้งาน

 

ทำความเข้าใจบริภัณฑ์ทางไฟฟ้า

บริภัณฑ์ทางไฟฟ้า หมายความว่า อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ เครื่องประกอบ หรือเครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้าเป็นต้นกําลัง หรือเป็นส่วนประกอบ หรือที่ใช้เกี่ยวเนื่องกับไฟฟ้า อย่างเช่น ตู้คอนโทรลไฟฟ้า, ตู้ MDB ตามอาคารสำนักงาน หรือตู้ไฟโรงงาน ที่เจ้าของโรงงานต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ และส่วนประกอบต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐานอื่นที่ยอมรับกัน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
 

มาตรฐานระดับการป้องกัน (Ingress Protection )

มาตรฐานระดับการป้องกัน หรือ Ingress Protection, IP เป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกยอมรับ และใช้เป็นรหัส (Marking) เพื่อแสดงถึงระดับการป้องกันสิ่งห่อหุ้มบริภัณฑ์นั้น ว่าได้รับการป้องกันจากการคุกคามของอนุภาคของแข็ง และของเหลวได้มากน้อยเพียงใด โดยแสดงเป็น IP ตามด้วยตัวเลขสองหลักคือ X และ Y 
- ตัวเลขหลักแรก (X) แสดงถึงระดับการป้องกันจากการคุกคามของอนุภาคที่เป็นของแข็ง 
- ตัวเลขที่สอง (Y) แสดงถึงระดับการป้องกันจากการคุกคามของอนุภาคของเหลว 
หากการป้องกันใดไม่กำหนด อาจแสดงด้วย “_” หรือ “x” หรือเว้นช่องว่างไว้ เช่น IPx4
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ จึงมีข้อกำหนดให้แสดงระดับการป้องกัน ให้กับสิ่งห่อหุ้มบริภัณฑ์ทางไฟฟ้า อย่างตู้คอนโทรล หรือตู้ควบคุมไฟฟ้า เพื่อให้ช่างไฟฟ้าสามารถเลือกใช้ และติดตั้งบริภัณฑ์ทางไฟฟ้านั้นได้เหมาะสมกับสถานที่ติดตั้ง 
ปกติสิ่งห่อหุ้มบริภัณฑ์ทางไฟฟ้าที่เป็นแผงย่อย วิศวกรไฟฟ้าและช่างไฟฟ้ามักจะเลือกใช้ระดับการป้องกันที่ IP44 หรือ IP54 การพิจารณาสถานที่ติดตั้งของบริภัณฑ์ไฟฟ้าดังกล่าว จะเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้ระดับการป้องกันสิ่งห่อหุ้มบริภัณฑ์
 

ความแตกต่างของตู้ไฟระดับการป้องกัน IP44 และ IP55

ตัวเลขหลักแรก 

แสดงถึงระดับป้องกันการคุกคามจากอนุภาคของแข็ง เลข 4 สามารถป้องกันของแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 mm ขึ้นไป ตัวอย่างเช่น ป้องกันการสัมผัสตัวอุปกรณ์โดยไม่ตั้งใจจากสายไฟ ไขควง รวมทั้งแมลงบางชนิด 
ในขณะที่ เลข 5 นั้น จะสามารถป้องกันการคุกคามของอนุภาคฝุ่นได้ แต่อาจมีสิ่งเล็กน้อยเล็ดลอดเข้าไป จากการเปิดฝาตู้ไฟ หรือฝาตู้ของสิ่งห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ไฟฟ้านั้น เพื่อการใช้งานในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ไม่มีผลใด ๆ ต่อการทำงานของอุปกรณ์ 
 

ตัวเลขหลักที่สอง

แสดงระดับการป้องกันการคุกคามจากอนุภาคของเหลว เลข 4 จะสามารถป้องกันละอองน้ำ (Spray Nozzle) ที่ตกกระทบตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง 
ในขณะที่เลข 5 จะสามารถป้องกันการป้องกันน้ำจากการฉีดที่ตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง (6.3 mm-Nozzle) หากช่างไฟฟ้าที่ต้องการตู้ไฟกันน้ำมาใช้ในการติดตั้ง จะต้องพิจารณาตัวเลขหลักนี้เป็นพิเศษ
ดังนั้นการพิจารณาออกแบบ และเลือกใช้ตู้ไฟ, ตู้คอนโทรล หรือสิ่งห่อหุ้มบริภัณฑ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ให้มีระดับการป้องกันที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การติดตั้งบริภัณฑ์ไฟฟ้า เป็นไปตามมาตรฐานปกติสำหรับการใช้งานทางไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง และยังคงเกิดความปลอดภัยสูงสุดจากการใช้งานทางไฟฟ้าให้กับผู้ใช้งานอีกด้วย
 
ภาพแสดงระดับการป้องกัน IP ตู้ไฟ 4 แบบ

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ช่างไฟท่านใดที่กำลังมองหาตู้ไฟกันน้ำ กันฝุ่น เราขอแนะนำ “XTRA SHIELD SERIES ที่สุดของตู้ไฟกันฝุ่น” มาตรฐานกันฝุ่นกันน้ำ IP55 – IP65 ยางซีลกันฝุ่นอย่างแน่นหนา ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากประเทศเยอรมัน มาพร้อม “สายกราวน์” สายต่อลงดินเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วในตู้รุ่นพรีเมี่ยมทุกใบ

และนอกจากตู้ไฟแล้ว รางครอบสายไฟ เป็นอุปกรณ์อีกหนึ่งอย่างที่มีความสำคัญต่อระบบไฟฟ้า ดังนั้นการเลือกรางไฟที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับการใช้งาน จะช่วยป้องกันปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้ารั่ว และปัญหาจากไฟฟ้าอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี

 

สอบถามข้อมูลตู้ไฟ รางไฟ KJL ได้ที่

KJL LINE Official Account: @KJL.connect หรือ Click: https://lin.ee/lzVhFfo