ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ
กล่องสำหรับงานไฟฟ้า (Box) ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ข้อที่ 5.16, บทที่ 5 ข้อกำหนดการเดินสายและวัสดุ จะมีนิยามครอบคลุมสำหรับการติดตั้งและใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับงานไฟฟ้า เช่น การติดตั้งกล่องเพื่อเป็นจุดต่อไฟฟ้าของสวิตช์หรืออุปกรณ์ หรือการติดตั้งกล่องเพื่อเป็นกล่องต่อสาย กล่องดึงสาย และกล่องแยกสาย รวมทั้งกล่องอื่น ๆ เพื่อการเดินสายไฟและสายเคเบิลในงานระบบไฟฟ้า เป็นต้น
ข้อกำหนดและลักษณะการใช้งานของกล่องสำหรับงานไฟฟ้า ที่ระบุไว้ในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ปี พ.ศ. 2564 (วสท. ฉบับใหม่) ยังคงมีรายละเอียดที่ไม่แตกต่างกับมาตรฐานฯ ฉบับเดิม (ปี พ.ศ. 2556) มากนัก อาทิ กล่องต้องทำจากวัสดุที่ทนต่อการผุกร่อน หรือมีการป้องกันที่เหมาะสมทั้งภายในและภายนอก เช่น เคลือบด้วยสี ชุบสังกะสี กล่องต้องสามารถบรรจุตัวนำหรือสายเคเบิลได้ทั้งหมด หรือกล่องต้องมีฝาปิดที่เหมาะสมและปิดอย่างแน่นหนา เป็นต้น
ทั้งนี้ สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาในมาตรฐานฯ ฉบับปี พ.ศ. 2564 คือการกำหนดแนวทางการหาขนาดของ กล่องดึงสาย (พูลบ๊อกซ์) ในงานระบบไฟฟ้าแรงต่ำ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
เพื่อให้การติดตั้งกล่องดึงสาย ในงานระบบไฟฟ้าแรงต่ำเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย การหาขนาดของกล่องดึงสายสำหรับระบบไฟฟ้าแรงต่ำ จะคำนวณจากขนาดของท่อทางด้านเข้า (วสท. 022001-22, ข้อที่ 5.16.3.1)
ความยาวของกล่องดึงสายจะต้องไม่น้อยกว่า 8 เท่า ของท่อที่ใหญ่ที่สุด
ความยาวของกล่องแต่ละด้านที่ติดตั้งท่อดึงสายไฟฟ้า จะต้องไม่น้อยกว่า 6 เท่า ของท่อที่มีขนาดท่อที่ใหญ่ที่สุด บวกเพิ่มขนาดท่อที่เหลือทั้งหมดในแถวเดียวกัน และผนังกล่องเดียวกัน
ให้คำนวณแยกแต่ละแถวแล้วเลือกแถวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยระยะระหว่างท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุดจะต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 6 เท่า ของขนาดท่อที่ใกล้ที่สุด
หากวิศวกรไฟฟ้า หรือช่างไฟท่านใดต้องการพูลบ๊อกซ์ ตู้ไฟ หรือรางไฟคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐาน สามารถดูรายละเอียด หรือสอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่
KJL LINE Official Account: @KJL.connect