ปัญหาไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก ถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าเป็นอย่างมาก การติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้เป็นปกติอย่างเครื่อง Stabilizer จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ แล้ว Stabilizer คืออะไร มีหลักการการทำงานอย่างไร และควรเลือกใช้กับอุปกรณ์ประเภทใดบ้าง หาคำตอบได้ในบทความนี้!
เครื่อง Stabilizer หรือที่รู้จักกันในชื่อของเครื่อง AVR ซึ่งย่อมาจาก Automatic Voltage Regulator คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปรับเพิ่มหรือลดแรงดันไฟฟ้าจากระบบที่มีความผิดปกติ ให้มีค่าคงที่อยู่ที่ 220V เพื่อป้องกันไม่ให้แรงดันไฟฟ้าที่ผิดปกติเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าและก่อให้เกิดความเสียหาย อีกทั้งยังช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และยืดอายุใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ยาวนานขึ้น
โดยหลักการทำงานของเครื่อง Stabilizer คือ การนำไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟเข้ามายังภายในตัวเครื่อง เข้าสู่วงจรควบคุมเพื่อตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าขาเข้าว่าสูงหรือต่ำกว่า 220V หรือไม่ หากแรงดันไฟฟ้าผิดปกติ วงจรควบคุมจะส่งสัญญาณไปยังระบบปรับแรงดันไฟฟ้า โดยใช้ขดลวดแม่เหล็กในการปรับแรงดันไฟฟ้าให้กลับมาอยู่ที่ 220V และกรองสัญญาณรบกวนต่าง ๆ เพื่อให้แรงดันไฟฟ้ามีความเสถียร ก่อนจะส่งไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า
ภายใน Stabilizer จะประกอบไปด้วยขดลวดหลัก ๆ ทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่
เป็นขดลวดหลักที่ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าจากขั้ว R, S และ T เข้ามาภายใน Stabilizer
เป็นขดลวดที่ทำหน้าที่ในการปรับและควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในค่าที่เหมาะสม
เป็นขดลวดที่ทำหน้าที่กรองสัญญาณรบกวน ทำให้แรงดันไฟฟ้าที่ออกมาเสถียรและปลอดภัย
โดยขดลวด M และ J จะรับกระแสไฟฟ้าที่เข้ามาจากขั้ว R, S และ T ในการสร้าง Magnetic Flux (ฟลักซ์แม่เหล็ก) ทำให้เกิด Magnetic Force (แรงแม่เหล็ก) ในแต่ละขดลวด เพื่อเหนี่ยวนำและควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้สมดุล ส่วนขดลวด K จะทำหน้าที่ดูดซับฮาร์มอนิกหรือสัญญาณรบกวนในระบบไฟฟ้า และป้องกันไม่ให้ส่งผลต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า
เครื่อง Stabilizer คือ อุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่อระบบไฟฟ้าทั้งในทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
โดยทั่วไปแล้ว การเลือกใช้ Stabilizer จะขึ้นอยู่กับความต้องการในการควบคุมแรงดันไฟฟ้าว่าต้องการให้มีความแม่นยำ เที่ยงตรงมากน้อยเพียงใด
การเลือกขนาด Stabilizer หรือเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสม จะขึ้นอยู่กับ กำลังไฟฟ้ารวม (วัตต์) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการต่อเข้ากับ Stabilizer และคำนวณเผื่อไว้ประมาณ 20-30% เพื่อรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มเติมในอนาคต โดยต้องไม่เกินขนาดกำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้ารองรับได้ ซึ่งขนาดของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าในปัจจุบันมีดังนี้
การติดตั้ง Stabilizer จะช่วยป้องกันความเสียหายของระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จากไฟตก ไฟเกิน หรือไฟกระชากได้ แต่หากปัญหาทางไฟฟ้าเหล่านี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ผู้ใช้งานควรหมั่นตรวจเช็กระบบไฟฟ้าภายในบ้านว่ามีจุดที่ชำรุด เสียหายหรือไม่ โดยอาจแจ้งกับทางการไฟฟ้าฯ เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของแหล่งจ่ายไฟ รวมถึงเลือกติดตั้งระบบไฟฟ้าด้วยตู้ไฟ และ รางสายไฟ ที่ผลิตด้วยขั้นตอนและเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยงจากสายไฟชำรุด และการจ่ายไฟฟ้าที่ผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดไฟรั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร และอันตรายทางไฟฟ้าในระยะยาว
KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่
LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo
Facebook: facebook.com/KJLElectric