ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ
ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle, EV หมายถึงยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งเก็บอยู่ในแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้าแบบอื่นๆชนิดบรรจุซ้ำได้ ปัจจุบันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้านั้น ได้มีการยอมรับและเป็นที่ความต้องการใช้งานของผู้บริโภคมากขึ้น นอกเหนือจากสมรรถนะและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าของรถยนต์ไฟฟ้า การใช้พลังงานในรูปแบบของไฟฟ้าที่สามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานจากการใช้น้ำมันของรถยนต์แบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ Internal Combustion Engine, ICE ก็เป็นเหตุผลที่สำคัญ รวมทั้งสามารถก่อให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
การติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า หรือ เครื่องชาร์จรถ EV (EV Charger) ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ดังนั้น การออกแบบและติดตั้งเครื่องชาร์จรถ EV จึงต้องเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าที่กำหนดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะจากการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งได้นิยามเครื่องอัดประจุไฟฟ้าไว้ดังนี้
หมายถึงการเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้าผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่ใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า AC charger ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกติดตั้งและใช้งานเครื่องอัดประจุไฟฟ้าโหมด 3 ตั้งแต่ขนาดพิกัด 1 เฟส 3.7 kW ไปจนถึงขนาดพิกัด 3 เฟส 22 kW
หมายถึงการเชื่อมต่อไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้าผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสตรงที่ใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า DC charger หรือ Quick charger ซึ่งปัจจุบันมีขนาดพิกัดให้เลือกใช้งานตั้งแต่ 50 kW ไปจนถึง 150 kW และ 240 kW จนไปถึงพิกัดที่สูงมากกว่านี้ เพื่อความสามารถรองรับยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ในอนาคต
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการใช้งานเครื่องชาร์จรถ EV การออกแบบและติดตั้งทางไฟฟ้าของวงจรย่อยที่จ่ายไฟให้กับเครื่องชาร์จรถ EV มีข้อกำหนดที่สำคัญคือ
จะต้องมีระบบป้องกันอันตรายต่อบุคคลได้แก่ สายดิน (ที่มีการต่อลงดิน) รวมทั้งติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว / RCD ที่ต้องเป็นชนิด Type B พิกัด I∆n ≤ 30 mA และมีพิกัดกระแสไม่น้อยกว่าพิกัดของอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน
วงจรย่อย 1 วงจรสามารถจ่ายไฟให้กับเครื่องอัดประจุไฟฟ้า 1 เครื่องเท่านั้น
สายไฟฟ้าของวงจรย่อยที่จ่ายไฟให้เครื่องอัดประจุไฟฟ้าต้องมีขนาดพิกัดกระแสไม่ต่ำกว่า 1.25 เท่าของกระแสด้านไฟเข้า (Input) ของเครื่องอัดประจุไฟฟ้า และไม่ต่ำกว่าพิกัดกระแสของเครื่องป้องกันกระแสเกิน
หากวิศวกรไฟฟ้าหรือช่างไฟท่านใด ต้องการตู้คอนโทรลไฟ หรือรางไฟคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ KJL LINE Official Account: @KJL.connect