มาตรฐานการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พ.ศ. 2565

2023 - 06 - 02

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ

ปัจจุบันการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาควบคู่กับระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่มีแนวโน้มสูงขึ้น นอกจากระบบนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นทางเลือกหลักที่สำคัญในการสร้างสังคมปลอดคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality อีกด้วย ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำคัญอย่างไร และหากจะติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเช่นนี้ควรเตรียมการอย่างไรบ้าง KJL สรุปมาให้คุณแล้ว!

 

ความสำคัญของระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา

ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคามีส่วนช่วยประหยัดพลังงานอย่างมาก โดยเฉพาะระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ ที่สามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงตอนกลางวันหรือช่วงเวลาที่มีแสงอาทิตย์ แล้วนำพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวมาผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในช่วงที่ไม่มีแสงอาทิตย์ได้ โดยผ่านอุปกรณ์แปลงผันกำลังไฟฟ้า (Power conversion equipment, PCE) เช่น DC/DC converter และ Inverter เป็นต้น

 

หากต้องการใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ควรทำอย่างไร?

การออกแบบและติดตั้งระบบดังกล่าวต้องเป็นไปตามมาตรฐานติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย: ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ. 2565 (วสท. 022013-22) ที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยโดยเฉพาะระบบไฟฟ้ากระแสตรง และ PV array ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในด้านอื่น ๆ ได้ นอกเหนือจากระบบไฟฟ้ากระแสสลับทั่วไป

อย่างไรก็ดี มาตรฐาน วสท. 022013-22 ฉบับนี้เป็นมาตรฐานที่ได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมจากมาตรฐานการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ฯ ฉบับ พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ที่เป็นฉบับเดิม จึงมีประเด็นสำคัญที่กำหนดเพิ่มเติมจากฉบับเดิม ดังนี้ 

  1. การเพิ่มข้อบังคับการติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) เพื่อลดค่าแรงดันไฟฟ้าในบริเวณ Array boundary ให้เหลือไม่เกิน 80 โวลต์ ภายในเวลา 30 วินาที หรือการใช้อุปกรณ์ควบคุม เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดไฟดูดและเกิดอันตรายต่อพนักงานดับเพลิง เป็นต้น

  2. การกำหนดขนาดพิกัด Voc ARRAY สูงสุดสำหรับ PV array ที่ติดตั้งใช้งานบนหลังคา โดยกำหนดให้มีพิกัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงไม่เกิน 1,000 โวลต์ สำหรับอาคารที่พักอาศัย และไม่เกิน 1,500 โวลต์ สำหรับอาคารอื่นๆที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย

  3. การเชื่อมต่ออุปกรณ์ การต่อเคเบิล อุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้า อุปกรณ์ตัดต่อ การต่อลงดิน รวมถึงระบบจัดเก็บพลังงานแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System, BESS) อุปกรณ์แปลงไฟฟ้าเพื่อการอัดประจุ และคายประจุไฟฟ้าสำหรับแบตเตอรี่

 

หากวิศวกรไฟฟ้า หรือช่างไฟท่านใดต้องการตู้ไฟ หรือรางเก็บสายไฟคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐาน สามารถดูรายละเอียด หรือสอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ KJL LINE Official Account: @KJL.connect