ท่อโลหะอ่อน คืออะไร และวิธีการติดตั้งให้ได้มาตรฐาน

ท่อโลหะอ่อน เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้ในการเดินสายไฟภายในอาคาร เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและติดตั้งได้ง่าย แต่การใช้งานท่อโลหะอ่อนนั้นมีข้อจำกัดและข้อควรระวังหลายประการ เพื่อให้การติดตั้งระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน การทำความเข้าใจถึงวิธีการใช้งานท่อโลหะอ่อนอย่างถูกต้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับช่างไฟฟ้าและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานระบบไฟฟ้า

ท่อโลหะอ่อน Flexible Metal Conduit คือ

ท่อโลหะอ่อน หรือ Flexible Conduit คือ ท่อที่ทำจากเหล็กชุบสังกะสี มีลักษณะเป็นแผ่นม้วนล็อกเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถโค้งงอหรือม้วนได้ ใช้เดินเข้าบริภัณฑ์ไฟฟ้า (อุปกรณ์ไฟฟ้า) หรือกล่องต่อสาย ไม่มีจุดประสงค์ให้ใช้เดินแทนท่อโลหะในงานเดินสายทั่วไปการใช้งาน

ข้อปฏิบัติในการใช้งานท่อโลหะอ่อน

– ใช้ในสถานที่แห้ง เพราะท่อกันน้ำเข้าไม่ได้

– ใช้ในสถานที่เข้าถึงได้ และเพื่อป้องกันสายทางกายภาพ หรือเพื่อการเดินซ่อนสาย

– ใช้เดินเข้าบริภัณฑ์ไฟฟ้าหรือกล่องต่อสาย และความยาวไม่เกิน 1.80 ม.

ข้อห้ามในการใช้งานท่อโลหะอ่อน

– ห้ามใช้ในปล่องลิฟต์หรือปล่องขนของ
– ห้ามใช้ในห้องแบตเตอรี่ เนื่องจากจะเกิดการผุกร่อนจากไอกรดหรือไอด่าง
– ห้ามใช้ในบริเวณอันตราย (Hazardous Area) นอกจากจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น ถ้าจะใช้ได้ก็จะต้องระบุไว้ในมาตรฐานฯ เรื่องบริเวณอันตรายว่าให้ใช้ได้เท่านั้น
*หมายเหตุ บริเวณอันตรายนี้หมายถึง บริเวณที่มีสารไวไฟพร้อมที่จะเกิดการลุกไหม้ได้
–  ห้ามฝังดินหรือฝังในคอนกรีต
–  ห้ามใช้ในสถานที่เปียก นอกจากจะใช้สายไฟชนิดที่เหมาะสมและป้องกันน้ำเข้า ช่องเดินสายที่ท่อโลหะอ่อนต่ออยู่
–  ห้ามใช้ท่อโลหะอ่อนที่มีขนาดเล็กกว่า 15 มม. ยกเว้น ท่อโลหะอ่อนที่ประกอบมากับขั้วหลอดไฟและยาวไม่เกิน 1.80 ม.


จำนวนสายไฟในท่อโลหะอ่อน

จำนวนสายไฟฟ้า จำนวนสายไฟฟ้าในท่อต้องไม่เกินตามที่กำหนดในตาราง

จํานวนสายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย

1

2

3

4

มากกว่า 4

สายไฟฟ้าทุกชนิด ยกเว้น สายชนิดมีปลอกตะกั่วหุ้ม

53

31

40

40

40

สายไฟชนิดมีปลอกตะกั่วหุ้ม

55

30

40

38

35

ตาราง พื้นที่หน้าตัดสูงสุดรวมของสายไฟฟ้าทุกเส้น คิดเป็นร้อยละเทียบกับพื้นที่หน้าตัดของท่อ

การติดตั้งใช้งานท่อโลหะอ่อน

– มุมดัดโค้งระหว่างจุดดึงสายรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 360 องศา

– ท่อร้อยสายต้องต่อลงดิน แต่ห้ามใช้ท่อเป็นตัวนำแทนสายดิน

ข้อควรระวังในการติดตั้งใช้งานท่อโลหะอ่อน

– จำนวนสายไฟฟ้าต้องไม่เกินที่กำหนดในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ การเดินสายหลายเส้นจะต้องปรับลดขนาดกระแสของสายด้วย

– ข้อต่อท่อต้องเป็นชนิดที่ออกแบบให้ใช้ได้กับท่อโลหะอ่อนเท่านั้น

– การใช้ท่อโลหะอ่อนแทนการเดินท่อโลหะหรืออโลหะนั้น ไม่ถูกต้อง

 

การใช้งานท่อโลหะอ่อนต้องใช้ให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด และปฏิบัติตามข้อควรระวังในการติดตั้ง รวมไปถึงการใช้ตู้ไฟและรางไฟที่ได้คุณภาพ จะช่วยให้ระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัยและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น
สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ 

LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo

Facebook: facebook.com/KJLElectric

Related Article บทความสาระน่ารู้อื่น ๆ

Different types of fire extinguishers

ประเภทถังดับเพลิงแต่ละชนิด A, B, C, D, K ต่างกันยังไง

เหล็กชุบกัลวาไนซ์ คืออะไร

เหล็กชุบกัลวาไนซ์ คืออะไร แตกต่างจากเหล็กทั่วไปอย่างไร

ภาพปกบทความ CNC ย่อมาจากอะไร

CNC ย่อมาจากอะไร ทำไมชิ้นงานส่วนใหญ่ผลิตด้วย CNC