ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ
บัสบาร์ทองแดง (Copper Bus Bar) เป็นตัวนำไฟฟ้าที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักในการประกอบและผลิตแผงสวิตช์หรือตู้ไฟฟ้า เนื่องจากข้อดีของบัสบาร์ชนิดนี้คือ สามารถนำกระแสได้สูง ระบายความร้อนได้ดี และมีค่าความสามารถในการนำกระแสต่อพื้นที่หน้าตัดของตัวนำที่สูง (A/mm2) เมื่อเปรียบเทียบกับตัวนำไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ โดยเฉพาะตัวนำไฟฟ้าที่มีฉนวนหุ้มหรือทำจากวัสดุอื่น เช่น อลูมิเนียม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบัสบาร์ทองแดงไม่มีส่วนประกอบใดที่เป็นฉนวน (Bare Live Parts) การนำไปใช้งานจึงมีข้อจำกัดในเรื่องของการออกแบบ การขึ้นรูปของบัสบาร์จะซับซ้อนและใช้เวลานาน ทั้งในรูปแบบของการดัดโค้ง การเชื่อมต่อบัสบาร์ และการติดตั้งบัสบาร์ภายในตู้ไฟฟ้าในแต่ละฟอร์ม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการติดตั้ง และใช้งานแผงสวิตช์สำหรับระบบไฟฟ้าแรงต่ำ
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย (วสท. 022001-22) ระบุให้บัสบาร์ทองแดงที่ใช้ในงานติดตั้งทางไฟฟ้าต้องมีความบริสุทธิ์ของทองแดงไม่น้อยกว่าร้อยละ 98 ทั้งนี้ในส่วนของการออกแบบขนาดของบัสบาร์ วิศวกรออกแบบแผงสวิตช์ส่วนใหญ่จะอ้างอิงค่าความสามารถการนำกระแสของบัสบาร์ทองแดงตามที่ระบุค่าไว้ตามมาตรฐาน DIN 43671 (Current-carrying capacity values for flat bars acc. to DIN 43671)
กรณีการเชื่อมต่อบัสบาร์จะมีลักษณะการประสานหน้าสัมผัสระหว่างบัสบาร์ โดยการเจาะยึดด้วยสกรู น็อต แหวนรองกันคลาย และอื่น ๆ ทั้งนี้ พื้นที่หน้าสัมผัสระหว่างกันในการประสานหรือเชื่อมต่อต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 5 เท่าของพื้นที่หน้าตัดของบัสบาร์ส่วนเชื่อมต่อ (Sc > 5 x Sb) แสดงดังรูปที่ 1(ก) และ รูปที่ 1(ข) ในกรณีของบัสบาร์หลัก เมื่อมีการเชื่อมต่อควรให้หน้าสัมผัสของบัสบาร์ประสานและต่อเนื่องตลอดความยาว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนภายในบัสบาร์ของระบบ (ดังรูปที่ 1(ค))
หากวิศวกรไฟฟ้า หรือช่างไฟท่านใดต้องการตู้ไฟสวิทช์บอร์ด หรือรางไฟคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐาน สามารถดูรายละเอียด หรือสอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่
KJL LINE Official Account: @KJL.connect