มาตรฐานสายไฟมีอะไรบ้าง ติดตั้งอย่างไรให้ถูกหลัก

มาตรฐานสายไฟ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ

สายไฟ คืออะไร

สายไฟ (Cables) คือ อุปกรณ์ส่วนที่สำคัญในการติดตั้งงานระบบไฟฟ้า เพื่อทำหน้าที่เป็นเส้นทาง หรือตัวกลางในการส่งผ่านกำลังไฟฟ้า จากแหล่งจ่ายกริด (Grid) ไปยังโหลดหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ภายในบ้านพักอาศัย อาคาร สำนักงาน และโรงงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา

 

มาตรฐานสายไฟต้องเป็นอย่างไร

สายไฟฟ้าที่ถูกนำมาใช้งาน และติดตั้งงานระบบไฟฟ้าในประเทศไทย ต้องเป็นสายไฟที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ฉบับล่าสุด เช่น

  • มาตรฐานเลขที่ มอก. 11-2553 

  • สำหรับสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ หรือ PVC ต้องเป็นไปตามมาตรฐานบังคับตามประกาศในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

หากช่างไฟ วิศวกร หรือผู้เกี่ยวข้องนำสายไฟฟ้าที่ไม่มี มอก. (ไม่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) มาใช้ในงานติดตั้งรางเดินสายไฟ หรืองานติดตั้งทางไฟฟ้าอื่น ๆ จะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายได้

 

รหัสสายไฟ

สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 11-2553 ส่วนใหญ่จะอ้างอิงมาจากมาตรฐาน IEC 60227 โดยชนิดของสายไฟจะถูกกำหนดด้วยรหัสตัวเลข 2 ตัว แต่เพื่อป้องกันการสับสน ผู้ผลิตจะระบุชื่อเดิมในวงเล็บให้ด้วย เช่น สายไฟชนิด THW ในชื่อเดิม จะถูกกำหนดชื่อใหม่เป็น 60227 IEC 01 (THW) เป็นต้น

 

รหัสสีสายไฟ

สีของฉนวนสายไฟจะกำหนดใหม่ โดยสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนแกนเดียวขนาดไม่เกิน 16 ตร.มม. กำหนดให้สีของฉนวนเป็น

  • สีฟ้าสำหรับสายนิวทรัล (N) 

  • สีน้ำตาลสำหรับเฟส 1 (L1)

  • สีดำสำหรับเฟส 2 (L2)

  • สีเทาสำหรับเฟส 3 (L3) 

  • สีเขียวคาดเหลือง (อนุโลมให้ใช้สีเขียวหรือสายเปลือยได้) สำหรับสายดิน (G)

ภาพตารางรหัสสีสายไฟกำหนดใหม่

ซึ่งช่างไฟและวิศวกรไฟฟ้าต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เมื่อทำการติดตั้งงานระบบไฟฟ้าให้กับโครงการประเภทปรับปรุง ต่อเติม และซ่อมแซมอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ที่จำเป็นต้องใช้มาตรฐานสายไฟใหม่ ร่วมกันกับสายไฟที่ติดตั้งอยู่เดิมที่เป็นสายไฟตามมาตรฐานตัวเก่า ดังนั้นการทำเครื่องหมายกำกับเพิ่มเติมไว้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

 

ประเภทสายไฟ

ตามมาตรฐานสายไฟจะจำแนกตามประเภทของฉนวนและชนิดของตัวนำ

กรณีแยกตามฉนวนไฟฟ้า

จะแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 

1. สายไฟฟ้าหุ้มฉนวน

สายไฟที่มีฉนวนหุ้มอยู่รอบตัวนำไฟฟ้า ส่วนใหญ่ทำจากพลาสติกโพลีเมอร์หรือยาง ที่มีค่าความต้านทานทางไฟฟ้าสูง

2. สายไฟฟ้าเปลือย

นิยมใช้กับระบบไฟฟ้าแรงดันสูง มักทำจากอลูมิเนียมเพราะน้ำหนักเบา ราคาถูก แต่สายอลูมิเนียมล้วนรับแรงดึงได้ต่ำ จึงพัฒนาให้สามารถรับแรงดึงให้สูงขึ้น โดยเสริมแกนเหล็กหรือวัสดุอื่นเข้าไป

3. สายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษ 

สายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษนอกเหนือจากสายไฟฟ้าทั่วไป เช่น มีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ต้านทานการติดไฟ หรือทนไฟ เป็นต้น

 

กรณีพิจารณาจากชนิดของตัวนำ 

สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. สายไฟฟ้าทองแดง

2. สายไฟฟ้าอะลูมิเนียม

มาตรฐานสายไฟถูกกำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ดังนั้นช่างไฟและวิศวกรไฟฟ้า จึงต้องระมัดระวังเมื่อทำการติดตั้งงานระบบไฟฟ้า เพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุทางไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้น

หากต้องการตู้ไฟ รางไฟคุณภาพดี ทนทุกสภาพการใช้งาน และตรงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่

LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo

Facebook: facebook.com/KJLElectric

KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น
สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ 

LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo

Facebook: facebook.com/KJLElectric

Related Article บทความสาระน่ารู้อื่น ๆ

การเกิดสนิม เกิดจากอะไร? และวิธีป้องกันการเกิดสนิม

วัตถุไวไฟ คืออะไร มีอะไรบ้างที่ควรระวัง พร้อมคุณสมบัติ

Halogen Free คืออะไร มาจากไหน เหตุใดจึงไม่ควรมองข้าม