แน่นอนว่าสำหรับช่างไฟแล้ว ตู้คอนโทรลไฟฟ้าถือเป็นอุปกรณ์สำคัญเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า หรือการเดินสายไฟโดยตรง สำหรับช่างไฟมือใหม่อาจจะต้องทำความเข้าใจการทำงานของตู้ไฟ รวมถึงวิธีตรวจสอบ และบำรุงรักษา การติดตั้งตู้ไฟในช่วงแรกอาจต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะมีความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เรามีคำแนะนำดี ๆ จาก บทความให้ความรู้เรื่องตู้ไฟ และบทความของ อ.ลือชัย ทองนิล บางส่วนมาบอกต่อกัน
ตู้สวิตช์บอร์ด คือ ตู้ที่เป็นแหล่งรวมอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้า โดยเป็นแผงรวมวงจร เพื่อควบคุมการจ่ายไฟฟ้าซึ่ง มีทั้งขนาดเล็ก-กลางไปจนถึงขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก มักจะติดตั้งตามอาคาร และรูปแบบการวางระบบไฟฟ้าจะแตกต่างกันออกไปตามความต้องการใช้งาน
ตู้ MDB ( Main Distribution Board ) คือ ตู้สวิตช์บอร์ด ขนาดใหญ่ ใช้ในโรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่เป็นแผงควบคุมไฟฟ้าเพื่อจ่ายไปยังโหลดไฟต่างๆ รวมถึงการตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่แหล่งจ่ายไฟฟ้า ปริมาณกำลังการใช้ไฟฟ้า ระบบป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร สามารถทำการปรับปรุงแก้ไขระบบไฟฟ้า บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า และเพื่อขยายระบบไฟฟ้า
1. ตู้ไฟช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟไหม้ ไฟดูด ได้ ทำให้ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพมากขึ้น และมีความปลอดภัยมากขึ้น ด้วย
2. การมีตู้ไฟจะช่วยยืดอายการใช้งานของสายไฟ รวมถึงอุปกรณ์ที่อยู่ภายในตู้ไฟให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ป้องกันละอองฝุ่น หรือหยดน้ำ เพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
3. ช่างไฟจะสามารถตรวจสอบสายไฟฟ้าที่อยู่ภายในตู้ไฟได้สะดวก ง่าย และทั่วถึง เพื่อให้สามารถพร้อมทำงานได้ตลอดเวลาและมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ
จะต้องอยู่ในห้อง หรือสถานที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะสำหรับติดตั้งตู้ไฟ โดยห้ามมีท่อ หรือบริภัณฑ์อื่น ๆ อยู่ภายในห้อง บริเวณทางเดิน ทางเข้าห้อง ยกเว้นระบบดับเพลิงสำหรับตู้ไฟ และระบบปรับอากาศ หรือตัวดูดอากาศ
ตู้ไฟควรติดตั้งในพื้นที่แห้งสนิทสามารถเข้าถึงได้เพื่อการตรวจสอบ และบำรุงรักษา การติดตั้งตู้ไฟภายนอกอาคารควรมีวัสดุปกปิดที่ทนต่อสภาพอากาศ ไม่ควรตั้งอยู่ในพื้นที่มีวัตถุติดไฟได้ง่าย เพราะต้องป้องกันไม่ให้เกิดเพลิงไหม้
ตู้ไฟจะต้องอยู่ห่างจากเพดานที่ติดไฟได้ไม่น้อยกว่า 0.90 ม. หากเป็นเพดานที่ม่ติดไฟ หรือมีแผ่นกั้นทนไฟให้ลดระยะห่างเหลือ 0.60 ม. และแผงสวิตช์ต้องต่อลงดิน หากเลือกตู้ไฟ KJL ก็สามารถหมดกังวลเรื่องปัญหา และสบายใจเรื่องความปลอดภัย เพราะเราผลิตผ่านกระบวนการที่ได้มาตรฐาน สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง จุดเด่นของ ตู้ไฟสวิทช์บอร์ด KJL ทำไมถึงเป็นอันดับ 1 ที่ช่างไฟเชื่อมั่น
ได้ แต่ตู้ไฟไม่สามารถใช้ผ้าเปียกทำความสะอาดได้ต่อให้ขึ้นชื่อว่ากันน้ำ กันฝุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าจะบิดผ้าชุบน้ำหมาดแค่ไหนก็ตาม การที่ตู้ไฟเต็มไปด้วยฝุ่นเกาะก็อาจแสดงได้ว่าเป็นตู้ไฟที่ไม่มีคุณภาพมากพอสมควร หากต้องการทำความสะอาดตู้ไฟสามารถทำได้โดยตัดไฟก่อนแล้วใช้เครื่องดูดออก อย่าใช้วิธีเป่าลมเข้าโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ฝุ่นกระจายไปเกาะตามส่วนต่างๆของตู้ หากไม่บำรุงรักษาตู้ไฟจนทำให้ตู้ไฟสกปรกจะส่งผลต่อฉนวนต่างๆ เช่น ลูกถ้วยรองรับบัสบาร์ภายในตู้ไฟที่เกิดจากฝุ่นละอองปริมาณมากก่อตัวขึ้นรวมกับความชื้น ทำให้เกิดเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ เป็นตัวนำไฟฟ้า ส่งผลให้ฉนวนภายในตู้ไฟเสื่อมสภาพและเกิดไฟรั่วลงดินจนมีความร้อนสูง สร้างความเสียหายได้มาก และที่สำคัญคือค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลแก้ไขตู้ไฟหากเกิดสิ่งผิดปกติขึ้น
โดยการตรวจสอบตู้ไฟแบบคร่าว ๆ ช่างไฟสามารถ เริ่มที่การตรวจเช็คจุดต่อสายไฟต่าง ๆ ภายในตู้เพื่อดูความผิดปกติ และ Terminal รวมถึงขัน Bolt & Nut ที่เป็นสลักเกลียวให้แน่น จากนั้นทดสอบค่าความต้านทานของจุดต่อลงดิน (Ground Resistance Test) เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายของระบบไฟฟ้าที่มีสาเหตุจากฟ้าผ่า หรือไฟฟ้ารั่วลงดิน จึงจำเป็นจะต้องทดสอบค่าความต้านทานของจุดต่อลงดินเพื่อความปลอดภัย ต่อด้วยการทดสอบค่าความเป็นฉนวนของสายไฟฟ้า (Insulation Test) จะสามารถทดสอบได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Insulation Tester
เวลาใช้งานต้องระวังมากเป็นพิเศษ เพราะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ตรวจเช็คขนาดกระแสของเมนสวิตช์และสายเมน ตรวจสอบพิกัดตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรของเมนสวิตช์ รวมถึงติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสรั่วลงดิน และตรวจสอบสภาพเครื่องห่อหุ้มเมนสวิตช์ว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณืหรือไม่ ถ่ายความร้อนด้วยเทอร์โมสแกนซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพความร้อนทั้งก่อนและหลัง หรือที่เรียกว่า Preventive Maintenance (OPTION) เป็นการบำรุงรักษาเชิงป้องกันใช้ดูแลสภาพตู้ไฟเมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ และตรวจเช็คระบบ CAPACITOR BANK
ตู้เป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบการจ่าย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีตู้ไฟที่มีคุณภาพเพื่อปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟสำหรับความปลอดภัย และป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด ไฟไหม้ เป็นต้น ตู้ไฟจะต้องสามารถป้องกันสายเคเบิลและอุปกรณ์ภายตู้จากฝุ่นละออง หรือน้ำ ได้ นอกจากความปลอดภัยแล้ว ตู้ไฟยังให้ความสะดวกในการทำงานของช่างไฟอีกด้วย
ซึ่งนอกจากตู้ไฟแล้ว รางครอบสายไฟเป็นอีกหนึ่งอุปรณ์ที่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยในระบบไฟฟ้า ช่วยปกป้องสายไฟ ยือายุการใช้งาน และป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุทางไฟฟ้า เช่น ไฟรั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้นช่างไฟจึงจำเป็นต้องเลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
อ้างอิงข้อมูลเรื่องข้อสำคัญในการติดตั้งตู้ไฟ Switchboard จาก : มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย