หากพูดถึง สแตนเลส (Stainless Steel) ถือเป็นหนึ่งในวัสดุโลหะที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ด้วยข้อดีในเรื่องความแข็งแรง ทนทาน และเกิดสนิมได้น้อยกว่าโลหะประเภทอื่น ๆ และปัจจุบันในท้องตลาดก็มีสแตนเลสหลากหลายประเภทให้เลือก ในบทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักว่า สแตนเลส คืออะไร มีกี่ประเภท รวมถึงเกรดสแตนเลสที่นิยมใช้ในประเทศไทยอย่าง สแตนเลส 316 กับ 304 ต่างกันอย่างไร และควรเลือกใช้กับงานแบบใด
“สแตนเลสสตีล” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “เหล็กกล้าไร้สนิม” คือ โลหะผสมระหว่างเหล็ก คาร์บอน โครเมียม และสารประกอบอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติทนการกัดกร่อนสูง ซึ่งปกติจะมีสารโครเมียมในปริมาณอย่างน้อย 10% ขึ้นไป และมีปริมาณคาร์บอนไม่เกิน 2% โดยโครเมียมจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับเนื้อเหล็ก เกิดเป็นสารเคลือบผิวที่ป้องกันไม่ให้เกิดสนิมขึ้นได้ อีกทั้งด้วยปริมาณคาร์บอนที่ค่อนข้างน้อย ทำให้สแตนเลสมีความเหนียวมากกว่าความแข็ง จึงเหมาะกับงานผลิตที่ต้องการน้ำหนักเบา หรือขึ้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ
หากแบ่งสแตนเลสตามโครงสร้าง จะมีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
สแตนเลสประเภทที่นิยมใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน มีส่วนประกอบของโครเมียม 16-22% คาร์บอนไม่เกิน 0.15% และนิกเกิล 8-12% โดยนิกเกิลมีคุณสมบัติเสริมความต้านทานการกัดกร่อน ทำให้สแตนเลสชนิดนี้ทนทานต่อการกัดกร่อนสูง ทนความร้อนได้ดี มีความเหนียว ขึ้นรูปและเชื่อมประกอบได้หลากหลาย อีกทั้งยังมีคุณสมบัติ Non-Magnetic หรือแม่เหล็กดูดไม่ติด จึงมีความปลอดภัยสูงเมื่อต้องนำมาใช้กับงานบางประเภท เช่น งานโครงสร้าง หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์
สแตนเลสที่นิยมใช้งานรองลงมา โดยจะมีความเหนียวน้อยกว่าสแตนเลส Austenitic เนื่องจากมีส่วนประกอบของโครเมียมค่อนข้างสูง (เฉลี่ย 10.5-27%) และมีนิกเกิลเป็นส่วนประกอบน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย ทำให้มีข้อจำกัดในการขึ้นรูปและไม่สามารถชุบแข็งได้ นอกจากนี้ ยังสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 850°C จึงเหมาะกับงานที่เน้นความแข็งแรง ทนทานต่อแรงบีบอัด เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงงานสแตนเลสทั่วไป
สแตนเลสที่ผสานโครงสร้างของสแตนเลส Austenitic และ Ferritic เข้าด้วยกัน มีความแข็งแรงสูงมาก โดยมีส่วนประกอบของโครเมียมสูงถึง 20-28% อีกทั้งยังมีสารโมลิบดีนัมที่ช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนอยู่ไม่ต่ำกว่า 5% สแตนเลสประเภทนี้จึงทนต่อสารเคมีและคลอไรด์ได้ดี เหมาะกับงานที่เกี่ยวข้องกับสารกัดกร่อน เช่น อุตสาหกรรมอาหาร การขุดเจาะใต้ทะเล ถังบรรจุสารเคมี โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น
สแตนเลสที่ทนการกัดกร่อนได้น้อยกว่าประเภทอื่น ๆ โดยมีส่วนประกอบของโครเมียมอยู่เพียง 12-14% คาร์บอนไม่เกิน 1% และนิกเกิลไม่เกิน 2% แต่มีข้อดีคือสามารถปรับเพิ่ม-ลดความแข็งของเนื้อสแตนเลสได้ด้วยการชุบแข็งและอบคืนไฟ อีกทั้งยังมีความทนทานต่อการใช้งานสูง เหมาะกับการผลิตเครื่องมือแพทย์อย่างมีดผ่าตัด กรรไกรผ่าตัด ปากคีบ หรือเครื่องมือสำหรับตัด เช่น ใบมีดโกน ใบเลื่อย ใบคัตเตอร์
สแตนเลสที่ผ่านการเพิ่มความแข็งแรงโดยการตกตะกอน ทนการกัดกร่อนได้สูงใกล้เคียงกับสแตนเลส Austenitic และสามารถปรับ-ลดความแข็งได้เช่นเดียวกับสแตนเลส Martensitic มีส่วนประกอบของโครเมียมประมาณ 17% และนิกเกิลประมาณ 4% รวมถึงสารประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยความแข็งแรง เช่น อะลูมิเนียม ทองแดง ไทเทเนียม เป็นต้น นิยมใช้กับอุปกรณ์ที่ต้องการความแข็งแกร่งและทนความร้อนสูง เช่น ปั๊มน้ำ วาล์ว หรือชิ้นส่วนภายในอากาศยาน
โดยสแตนเลสนั้นมีหลายเกรด แต่ละเกรดก็มีองค์ประกอบ คุณสมบัติที่ต่างกัน และเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยปัจจุบันเกรดของสแตนเลสที่นิยมใช้งานในไทย ได้แก่
หรือที่นิยมเรียกกันว่า สแตนเลส 18/8 อยู่ในกลุ่มของสแตนเลส Austenitic มีส่วนประกอบของโครเมียม 18% และนิกเกิล 8% อีกทั้งยังมีคาร์บอนต่ำและไม่มีสารโมลิบดินัม ทำให้มีความเหนียวและขึ้นรูปได้ดี ทนต่อการกัดกร่อน ทำความสะอาดง่าย สามารถป้องกันแบคทีเรียไม่ให้เข้ามาเกาะหรืออาศัยอยู่บริเวณพื้นผิว และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะสามารถรีไซเคิลได้ 100%
นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในหลากหลายวัตถุประสงค์ เช่น การผลิตอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยอย่างบานพับ ลูกบิดประตู, อุตสาหกรรมครัวเรือน เช่น ซิงก์ล้างจาน เครื่องครัว รวมถึงในอุตสาหกรรมไฟฟ้าเช่น ตู้ไฟสวิทช์บอร์ด กล่องพักสาย รางเดินสายไฟ เป็นต้น
หรือที่รู้จักกันในชื่อของ สแตนเลสเกรดมารีน (Marine Grade) อยู่ในกลุ่มของสแตนเลส Austenitic มีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกับสแตนเลส 304 แต่จะมีการเพิ่มสารโมลิบดินัม ทำให้สามารถทนการกัดกร่อนจากสารเคมี ทนความร้อนและการเกิดสนิมได้มากยิ่งขึ้น
สแตนเลส 316 จะตอบโจทย์งานที่เน้นความทนทานสูง และงานที่ต้องสัมผัสกับความชื้น ความร้อน หรือสารเคมี เช่น ชิ้นส่วนเรือ ถังเก็บสารเคมี เครื่องมือแพทย์ ระบบท่อประปา ชิ้นส่วน เครื่องจักร รวมถึงตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในโรงงานอุตสาหกรรม
มีโครงสร้างเช่นเดียวกับสแตนเลส 316 รวมถึงการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน แต่จะมีปริมาณคาร์บอนที่น้อยกว่า โดยเกรด 316 จะมีคาร์บอนผสมอยู่ 0.08% ส่วนเกรด 316L จะมีคาร์บอนผสมอยู่ 0.03%
สแตนเลส 316L เหมาะกับงานที่ต้องเชื่อมในหลาย ๆ จุด เนื่องจากมีปริมาณคาร์บอนต่ำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดรอยแตกร้าวระหว่างการเชื่อม
อยู่ในกลุ่มของสแตนเลส Ferritic มีลักษณะคล้ายกับสแตนเลส 304 แต่ไม่มีนิกเกิลผสม โดยมีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบสูงถึง 0.12% ทำให้มีความแข็งแรงและทนต่อแรงกด แรงกระแทกได้ดี นำความร้อนได้ดี อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่า แต่มีข้อเสียคือทนการกัดกร่อนได้น้อยกว่าสแตนเลส 304 และ 316
นิยมใช้กับอุปกรณ์ที่ต้องการความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ฐานรองเตาแก๊ส เครื่องครัวประเภทชุดมีด หรือของมีคมต่าง ๆ ที่ต้องใช้แรงในการตัด หั่น และเครื่องครัวที่ต้องใช้ความร้อนในการใช้งาน เช่น หม้อ กระทะ กาต้มน้ำ เป็นต้น
สแตนเลส 304 สามารถขึ้นรูปและคงรูปในแนวตั้งได้ดี และมีราคาที่ถูกกว่า จึงนิยมนำมาใช้งานในแทบทุกอุตสาหกรรม ส่วนสแตนเลส 316 แม้จะมีราคาที่สูงกว่า แต่มีคุณสมบัติที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี รวมถึงสามารถใช้งานสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้นสูงโดยไม่เกิดสนิม จึงเหมาะกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี การผลิตเครื่องมือแพทย์ การขุดเจาะเหมืองใต้ทะเล ที่ต้องการความทนทานและความปลอดภัยมากขึ้น
เกรดสแตนเลส |
ปริมาณโครเมียม |
ปริมาณนิกเกิล |
ปริมาณคาร์บอน |
ปริมาณโมลิบดีนัม |
คุณสมบัติเด่น |
การใช้งาน |
SUS 304 |
18% |
8% |
< 0.08% |
- |
เหนียวและขึ้นรูปได้ดี ทนต่อการกัดกร่อน รีไซเคิลได้ 100% |
ผลิตอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย, เครื่องครัว และ อุตสาหกรรมไฟฟ้า |
SUS 316 |
18% |
8% |
< 0.08% |
2-3% |
ทนทานความชื้น ความร้อน หรือสารเคมีได้สูง |
อุตสาหกรรมเคมี, เครื่องมือแพทย์ และตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในโรงงานอุตสาหกรรม |
SUS 316L |
18% |
8% |
< 0.03% |
2-3% |
ทนทานความชื้น ความร้อน หรือสารเคมีได้สูง |
อุตสาหกรรมเคมี, เครื่องมือแพทย์ และตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในโรงงานอุตสาหกรรม และงานที่ต้องเชื่อมในหลาย ๆ จุด |
SUS 430 |
18% |
- |
< 0.12% |
2-3% |
ทนต่อแรงกด แรงกระแทก นำความร้อนได้ดี |
เครื่องครัวประเภทชุดมีด และเครื่องครัวที่ต้องใช้ความร้อนในการใช้งาน เช่น หม้อ กระทะ กาต้มน้ำ |
หมายเหตุ: ข้อมูลในตารางนี้เป็นข้อมูลโดยทั่วไป อาจมีความแตกต่างเล็กขึ้นอยู่กับผู้ผลิตสแตนเลส
อ่านมาถึงตรงนี้คงทราบกันแล้วว่า สแตนเลส 304 กับ 316 ต่างกันอย่างไร แต่ถ้าจะถามว่า เกรดสแตนเลส 304 กับ 316 แบบไหนดีกว่า? ก็ต้องตอบว่า ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน หากเทียบกันในเรื่องของคุณสมบัติด้านการทนต่อการกัดกร่อนแล้ว สแตนเลส 316 จะมีความทนทานที่ดีกว่า ทั้งนี้เนื่องจากสแตนเลสทั้ง 2 เกรดอยู่ในประเภท Austenitic ซึ่งมีความทนทานในการใช้งานเป็นอย่างดี หากต้องการใช้งานทั่วไป การเลือกใช้สแตนเลส 304 ที่มีราคาประหยัดกว่าก็ถือว่าเพียงพอ
ด้วยข้อดีและคุณสมบัติด้านความทนทาน น้ำหนักเบา สามารถรีไซเคิลได้ และมีราคาที่ไม่สูงมาก ทำให้ปัจจุบัน สแตนเลสเป็นวัสดุที่นิยมใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์เครื่องครัว อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรต่าง ๆ รวมไปถึง ตู้ไฟ และ รางสายไฟ ที่ผลิตโดยผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีอัตโนมัติที่ทันสมัย ปลอดภัยและทนทานสำหรับงานติดตั้งกลางแจ้ง ดูแลรักษาง่าย ไม่เกิดสนิม และไม่เกิดอันตรายระหว่างการใช้งาน
KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่
LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo
Facebook: facebook.com/KJLElectric