ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ
เต้ารับ (Receptacle) คืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกติดตั้งในงานระบบไฟฟ้าเพื่อทำหน้าที่เป็นจุดจ่ายไฟให้ผู้ใช้งาน ที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่พักอาศัย โรงงาน อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า หรืออาคารทั่วไปอื่น ๆ โดยมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564 (วสท. 022001-22) ได้นิยามความหมายของเต้ารับเอาไว้ว่า อุปกรณ์หน้าสัมผัสซึ่งติดตั้งที่จุดจ่ายไฟ ใช้สำหรับการต่อกับเต้าเสียบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เต้ารับทางเดียว (1 โครง ประกอบด้วย 1 ชุดอุปกรณ์หน้าสัมผัส) และ เต้ารับหลายทาง (1 โครง ประกอบด้วยอุปกรณ์หน้าสัมผัสมากกว่า 2 ชุด)
การคำนวณโหลดวงจรย่อยสำหรับเต้ารับ สามารถพิจารณาได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ โหลดเต้ารับที่ใช้งานทั่วไป และโหลดเต้ารับที่ไม่ใช้งานโดยทั่วไป กรณีที่ไม่ใช้งานโดยทั่วไปหรืออาจเรียกว่าใช้งานเฉพาะนั้น ให้คำนวณโหลดตามขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ส่วนโหลดเต้ารับใช้งานโดยทั่วไปให้คำนวณโหลดโครงละหรือจุดละ 180 VA ทั้งแบบชนิดเต้ารับทางเดียว (Single) เต้ารับคู่ (Duplex) และเต้ารับชนิดสามชุดหรือสามเต้า (Triplex) แต่กรณีที่ติดตั้งเต้ารับหลายทางที่ประกอบด้วยอุปกรณ์หน้าสัมผัสตั้งแต่ 4 ชุด หรือ 4 เต้า ให้คำนวณโหลดโครงละ หรือจุดละ 360 VA
เต้ารับที่ถูกติดตั้งในวงจรย่อยต้องเป็นแบบมีขั้วสายดิน นั่นคือเต้ารับที่ติดตั้งต้องมี 3 รู สำหรับสายเส้นไฟ (L) สายนิวทรัล (N) และสายดิน (G) โดยสายดินต้องต่อลงดินตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ และเพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้นสำหรับการเป็นจุดจ่ายไฟของเต้ารับ มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฉบับล่าสุด (วสท. 022001-22) จึงกำหนดให้ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว ขนาด I∆n ไม่เกิน 30 mA เพิ่มเติม สำหรับวงจรย่อยเต้ารับที่ติดตั้งในพื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้น้ำและความชื้น ได้แก่
หากวิศวกรไฟฟ้าหรือช่างไฟท่านใด ต้องการตู้ไฟ หรือรางเดินสายไฟคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ขอแนะนำรางเคเบิลและรางเคเบิลแบบบันไดที่ผลิตและจำหน่ายโดย KJL
สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ KJL LINE Official Account: @KJL.connect