ชนิดของสายไฟฟ้าแรงต่ำ มีอะไรบ้าง ใช้งานอย่างไร

2024 - 10 - 29

ชนิดของสายไฟฟ้าแรงต่ำ มีอะไรบ้าง ใช้งานอย่างไร?

สายไฟฟ้าแรงต่ำ เป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบไฟฟ้าที่ช่างไฟทุกคนต้องรู้จัก บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับชนิดของสายไฟฟ้าแรงต่ำ ตั้งแต่สายไฟชนิดตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนทั่วไปอย่าง PVC, XLPE ไปจนถึงสายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษ

 

สายไฟแรงดันต่ำมีกี่ชนิด อะไรบ้าง?

ชนิดของสายไฟฟ้าแรงต่ำ โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

- สายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวน PVC (Polyvinyl Chloride)

ปัจจุบันสายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวน PVC ต้องผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.11-2553 เนื่องจากเป็นมาตรฐานบังคับ อุณหภูมิใช้งานมีทั้ง70°C และ 90°C แต่สายที่ใช้ในระบบการเดินสายทั่วไปจะเป็นชนิดอุณหภูมิ 70°C แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดเป็น U0/U ไม่เกิน 450/750 V มีให้เลือกหลายชนิดตามความต้องการใช้งาน แต่ละชนิดของสายไฟฟ้าแรงดันต่ำตาม มอก.11 เรียกเป็นรหัสชนิด สายไฟฟ้า ที่ใช้งานทั่วไปมีดังนี้

  1. สายไฟชนิด IEC 01

รหัสชนิด 60227 IEC 01 ผลิตตาม มอก. 11-2553 นิยมเรียกว่าสาย IEC 01 มีลักษณะคล้ายกับสาย THW เดิม

สาย IEC 01 หนึ่งในชนิดของสายไฟฟ้าแรงต่ำ

  • ลักษณะทั่วไปของสาย IEC 01
    • ขนาด: 1.5-400 ตร.มม.

    • จำนวนแกน: แกนเดียว

    • สายดิน: ไม่มี

    • อุณหภูมิตัวนำ: 70 °C

    • เปลือก: ไม่มี

    • แรงดันไฟฟ้า U0/U: 450/750 V

  • การใช้งานสาย IEC 01

ตามที่กำหนดในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ

  • ใช้งานทั่วไป

  • เดินในช่องเดินสายและต้องป้องกันน้ำเข้าช่องเดินสาย

  • ห้ามร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง

 

  1. สายไฟชนิด IEC 10

รหัสชนิด 60227 IEC 10 ผลิตตาม มอก.11-2553 เป็นสายมีเปลือก 2 ชั้น (เปลือกชั้นนอก และเปลือกชั้นใน) โครงสร้างคล้ายสาย NYY แต่เป็นคนละชนิดกัน มีเฉพาะชนิดหลายแกนเท่านั้น และแรงดันใช้งานต่ำกว่าสาย NYY

สาย IEC 10 หนึ่งในชนิดของสายไฟฟ้าแรงต่ำ

  • ลักษณะทั่วไปของสาย IEC 10
    • ขนาด: 1.5-35 ตร.มม.

    • จำนวนแกน: หลายแกน

    • สายดิน: มี และ ไม่มี

    • อุณหภูมิตัวนำ: 70 °C

    • เปลือก: มี

    • แรงดันไฟฟ้า U0/U: 300/500 V

  • การใช้งานสาย IEC 10

ตามที่กำหนดในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ

  • ใช้งานทั่วไป

  • เดินในช่องเดินสายและต้องป้องกันน้ำเข้าช่องเดินสาย

  • วางบนรางเคเบิล

  • ห้ามร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง

 

  1. สายไฟชนิด VAF

ผลิตตาม มอก.11 เล่ม 101-2559 มีโครงสร้างและขนาดเหมือน VAF เดิมที่ผลิตตามมอก. 11-2553 โดยมีแรงดันไฟฟ้าที่กำหนด U0/U: 300/500 V 

สาย VAF หนึ่งในชนิดของสายไฟฟ้าแรงต่ำ

  • ลักษณะของสาย VAF
    • ขนาด: 1.0-16 ตร.มม.

    • จำนวนแกน: 2 และ 2 แกนมีสายดิน

    • สายดิน: มี และ ไม่มี

    • อุณหภูมิตัวนำ: 70 °C

    • เปลือก: มี

    • แรงดันไฟฟ้า U0/U: 300/500 V

  • การใช้งานสาย VAF

ตามที่กำหนดในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ

  • เดินเกาะผนัง

  • เดินในช่องเดินสาย ห้ามร้อยท่อ

    • ห้ามฝังดิน

 

  1. สายไฟชนิด NYY

ผลิตตาม มอก.11 เล่ม 101-2559 ปรับมาจาก มอก.11-2553 โดยเพิ่มสายชนิดหลายแกนขนาดเล็ก มีโครงสร้างเหมือนสาย NYY ที่ใช้อยู่เดิม มีทั้งชนิดแกนเดียวและหลายแกน

สาย NYY หนึ่งในชนิดของสายไฟฟ้าแรงต่ำ

  • ลักษณะของสาย NYY
    • แกนเดียว ขนาด 1.0-500 ตร.มม.

    • หลายแกน ขนาด 1.0-300 ตร.มม.

    • หลายแกนมีสายดิน ขนาด 1.0-300 ตร.มม.

    • ขนาด: 

    • จำนวนแกน: แกนเดียว และ หลายแกน

    • สายดิน: มี และ ไม่มี

    • อุณหภูมิตัวนำ: 70 °C

    • เปลือก: มี

    • แรงดันไฟฟ้า U0/U: 450/750 V

  • การใช้งานสาย NYY

ตามที่กำหนดในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ

  • ใช้งานทั่วไป

  • วางบนรางเคเบิล

  • ร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง

 

  1. สายไฟฟ้าชนิด VCT

ผลิตตาม มอก. 11 เล่ม 101-2559 ปรับมาจาก มอก.11-2553 โดยเพิ่มสายชนิดหลายแกนขนาดเล็ก มีโครงสร้างเหมือนสาย VCT ที่ใช้อยู่เดิม

สาย VCT หนึ่งในชนิดของสายไฟฟ้าแรงต่ำ

  • ลักษณะของสาย VCT
    • ขนาด: 1.0-35 ตร.มม.

    • จำนวนแกน: แกนเดียว และ หลายแกน

    • สายดิน: มี และ ไม่มี

    • อุณหภูมิตัวนำ: 70 °C

    • เปลือก: มี

    • แรงดันไฟฟ้า U0/U: 450/750 V

  • การใช้งานสาย VCT

ตามที่กำหนดในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ

  • ใช้งานทั่วไป

  • ใช้ต่อเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า

  • วางบนรางเคเบิล

  • ร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง

 

- สายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวน XLPE (Cross-Linked Polyethylene) 

สายชนิดนี้เป็นสายที่ไม่อยู่ในขอบข่ายของ มอก. 11-2553 ดังนั้นผู้ผลิตส่วนใหญ่มักผลิตตามมาตรฐาน IEC 60502-1 ขนาดจึงเป็นไปตามแต่ละผู้ผลิต แต่ส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างกันมาก มีอุณหภูมิใช้งาน 90°C สายชนิดนี้ในท้องตลาดนิยมเรียกว่าสาย CV

 

สาย XLPE หนึ่งในชนิดของสายไฟฟ้าแรงต่ำ

  • ลักษณะของสาย XLPE (CV)

    • แกนเดียว 1.5-1,000 ตร.มม.

    • หลายแกน 1.5-400 ตร.มม

    • ขนาด:

    • จำนวนแกน: แกนเดียว และ หลายแกน

    • สายดิน: มี และ ไม่มี

    • อุณหภูมิตัวนำ: 90°C

    • เปลือก: มี

    • แรงดันไฟฟ้า U0/U: 0.6/1 kV

  • การใช้งานสาย XLPE (CV)

ตามที่กำหนดในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ

  • ใช้งานทั่วไป

  • วางบนรางเคเบิล

  • ร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง

  • การติดตั้งภายในอาคารต้องเดินในช่องเดินสายที่ปิดมิดชิด ยกเว้น ทำให้สายมีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิงตามมาตรฐาน IEC 60332 cat. C ซึ่งผู้ผลิตจะต้องระบุมาด้วยบนสายไฟฟ้า เช่น ระบุว่าเป็น CV-FD เป็นต้น

หมายเหตุ เนื่องจากมีอุณหภูมิใช้งาน 90°C การใช้งานจะต้องคำนึงถึงพิกัดกระแสและอุณหภูมิของอุปกรณ์ที่จะนำไปใช้ประกอบร่วมกับสายให้มีความสัมพันธ์กันด้วย

 

- สายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษ 

เป็นสายที่มีวัตถุประสงค์การใช้งานเฉพาะแห่ง ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่อยู่ในอาคาร เช่น เมื่อเกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น ลักษณะเฉพาะของสายไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบที่กำหนดเช่น มอก. IEC และ BS โดยมีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้

 

1. คุณสมบัติต้านเปลวเพลิง (Flame Propagation or Flame Retardant) 

คือคุณสมบัติการหน่วงเหนี่ยวลุกลาม ของการลุกไหม้ของสายไฟฟ้า เมื่อเกิดไฟไหม้สายไฟฟ้าจะช่วยลดปัญหาลุกลามของไฟไปตามสายไฟฟ้า ดังนั้นบริเวณที่ถูกไฟไหม้จะไม่ขยายเป็นบริเวณกว้าง และเมื่อเอาแหล่งไฟออกก็จะดับเอง (Self-extinguish) กำหนดให้ใช้ตามมาตรฐาน มอก. 2756 หรือ IEC 60332-1 หรือ IEC 60332-3

สายชนิดนี้เมื่อนำเปลวไฟเผาจะลุกติดไฟได้ แต่เมื่อนำต้นเพลิงออกไฟจะ ดับเองไม่ลุกลามต่อ และไม่ขยายเป็นบริเวณกว้าง จึงสามารถที่จะทำการแก้ไขหรือ ดับไฟได้ทัน สายไฟฟ้าชนิดนี้จึงสามารถติดตั้งในรางเปิดภายในอาคารได้ ปัจจุบันจึงเป็นที่นิยมใช้งาน 

แต่ข้อเสียของสายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติด้านเปลวเพลิงคือ ฉนวนหรือเปลือกกรณีที่เป็น PVC ที่มีคุณสมบัติด้านเปลวเพลิงนั้น เมื่อเกิดการเผาไหม้จะปล่อยก๊าซพิษออกมาเป็นอันตรายต่อผู้ที่สูดดมเข้าไป และมีควันมาก ส่งผลต่อทัศนวิสัยการมองเห็น เช่น ปิดการมองเห็นเส้นทางการหนีไฟ และป้ายต่าง ๆ เป็นต้น

โครงสร้างของสายไฟฟ้าชนิดนี้ประกอบด้วยเปลือกชั้นนอกที่มีคุณสมบัติด้านเปลวเพลิง (Fame Retardant) ความสามารถในการด้านเปลวเพลิงแบ่งเป็น Category ตามการทดสอบ โดยในวิธีการทดสอบจะเป็นไปตามที่กำหนดในมาตรฐานการทดสอบ

 

2. คุณสมบัติการปล่อยก๊าซกรด (Acids Gas Emission) 

สายไฟฟ้าเมื่อถูกไฟไหม้ ส่วนประกอบบางส่วนจะทำให้เกิดก๊าซขึ้น และก๊าซบางอย่างก็จะทำให้เกิดกรด ซึ่งมีคุณสมบัติด้านการกัดกร่อนสูง สายไฟฟ้าต้องไม่มีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดสารฮาโลเจน (ไม่เกินที่กำหนดในมาตรฐานการทดสอบ) กำหนดให้ใช้ตามมาตรฐาน มอก.2757 เล่ม 1-2559 และ มอก.2757 เล่ม 2-2559 หรือ IEC 60754-1 และ IEC 60754-2

 

3. คุณสมบัติการปล่อยควัน (Smoke Emission) 

คือ สายไฟฟ้าทั่วไปที่เมื่อถูกไฟไหม้ส่วนประกอบหลายอย่างจะทำให้เกิดควันขึ้น ควันเหล่านี้จะทำให้การมองเห็นลดลง และทำให้สำลักควันเสียชีวิต สายควันน้อยจึงแก้ปัญหาข้างต้นได้กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐาน มอก.2758 หรือ IEC 61034-2

 

4. คุณสมบัติต้านทานการติดไฟหรือทนไฟ (Fire Resistance)

คือสายไฟฟ้าที่ทนต่อการติดไฟ ไม่ก่อให้เกิดการลุกลามของไฟ และขณะไฟลุกไหม้อยู่ยังสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ปกติ เรียกอีกอย่างว่า สายทนไฟ กำหนดให้ใช้ตามมาตรฐานของ มอก.3197 หรือ BS 6387 หรือ มอก.2755 หรือ IEC 60331

สายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างได้ ตามความต้องการใช้งานเพื่อให้การใช้ไฟฟ้าเกิดความปลอดภัยสูงสุด

 

เพื่อให้การติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นไปอย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากการเลือกชนิดของสายไฟฟ้าแรงให้เหมาะกับงานติดตั้งแล้ว การเลือกใช้ตู้คอนโทรลและรางครอบสายไฟ ที่ผลิตจากเครื่องจักรที่มีคุณภาพสูง วัสดุคุณภาพดี ผ่านการรับรองมาตรฐาน และงานออกแบบที่ทันสมัย ก็เป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้งานติดตั้งเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานการติดตั้ง เป็นระเบียบเรียบร้อย ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร และเพิ่มความสวยงามให้กับพื้นที่ติดตั้ง

KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ 

LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo

Facebook: facebook.com/KJLElectric