จัดอันดับ 20 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด มีอะไรบ้าง

2024 - 02 - 21

20 เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่กินไฟมากที่สุด

ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น แต่บ่อยครั้งเราจะเห็นว่าค่าไฟในแต่ละเดือนมักจะไม่เท่ากัน โดยเฉพาะในบางเดือนที่พุ่งขึ้นสูงจนน่าใจหาย ซึ่งสาเหตุหลักมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแต่ละชนิดที่กินไฟมาก-น้อยแตกต่างกันไป ในบทความนี้เราจะพามาดู 20 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดว่ามีอะไรบ้าง แต่ละชนิดกินไฟเท่าไร และเทคนิคการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี เพื่อช่วยประหยัดค่าไฟ และดีต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

 

ตารางสรุป 20 เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่กินไฟมากที่สุด

ลำดับ

เครื่องใช้ไฟฟ้า

วัตต์โดยเฉลี่ย

หมายเหตุ

1

เครื่องทำน้ำอุ่น

3,500 - 6,500

ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของเครื่อง

2

หม้ออบลมร้อน

1,500 - 2,500

ขึ้นอยู่กับการปรับอุณหภูมิ - ระยะเวลา

3

เครื่องปรับอากาศ

1,200 - 2,500

ขึ้นอยู่กับระบบทำความเย็นและขนาดพื้นที่ทำความเย็น (BTU)

4

เครื่องอบผ้า

1,900 - 2,200

ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้งาน

5

เครื่องดูดฝุ่น

1,000 - 2,200

ขึ้นอยู่กับขนาดและกำลังในการดูด

6

เครื่องปั่น

1,400 - 1,800

ขึ้นอยู่กับระดับกำลังในการปั่น

7

เครื่องทำกาแฟ

1,400 - 1,500

ขึ้นอยู่กับระดับความจุน้ำร้อน

8

เตารีด

1,000 - 2,600

ขึ้นอยู่กับระดับการทำความร้อน

9

ไมโครเวฟ

1,000 - 1,900

ขึ้นอยู่กับเวลาและระดับความร้อน

10

เครื่องซักผ้า

1,000 - 1,500

ขึ้นอยู่กับโปรแกรมและระดับน้ำ

11

กาต้มน้ำ

600 - 800

ขึ้นอยู่กับปริมาตรการทำความร้อน

12

ไดร์เป่าผม

400 - 1,000

ขึ้นอยู่กับระดับลมในการเป่า

13

เตาแก๊สไฟฟ้า

100 - 2,200

ขึ้นอยู่กับโปรแกรมทำความร้อน

14

ตู้เย็น

70 - 145

ขึ้นอยู่กับระดับการทำความเย็น

15

คอมพิวเตอร์

60 - 300

ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายใน

16

เครื่องฟอกอากาศ

50 - 250

ขึ้นอยู่กับขนาดกำลังของเครื่องฟอกอากาศ

17

เครื่องล้างจาน

50 - 80

ขึ้นอยู่กับโปรแกรมในการล้างจาน

18

โทรทัศน์

48 - 72

ขึ้นอยู่กับพื้นที่การแสดงผลของหน้าจอ

19

พัดลม

35 - 80

ขึ้นอยู่กับขนาดกำลังของมอเตอร์ใบพัด

20

Internet Router

5 - 12

ขึ้นอยู่กับขนาดของเราเตอร์ที่ใช้

 

ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดที่กินไฟมาก อาจเป็นเพราะระยะเวลาในการใช้งาน ขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสภาพแวดล้อมที่เข้ามากระทำ ตัวอย่างเช่น

  • เครื่องทำน้ำอุ่น จะใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นเมื่อใช้งานเป็นเวลานาน เพราะต้องทำให้น้ำอุ่นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งอุณหภูมิของน้ำที่เข้าเครื่องก็ส่งผลต่อการใช้ไฟฟ้าเช่นกัน เนื่องจากน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำจะใช้ไฟฟ้าในการทำความร้อนมากกว่าน้ำที่มีอุณหภูมิสูง

  • หม้ออบลมร้อน แม้จะเป็นอุปกรณ์ทำอาหารที่ใช้งานสะดวก ก็มีข้อเสียคือต้องใช้พลังงานไฟฟ้าสูง เพราะต้องใช้อุณหภูมิสูงในการทำให้อาหารสุก และต้องใช้เวลาในการปรุงอาหารนานกว่าวิธีอื่นอย่างการใช้ไมโครเวฟหรือกระทะไฟฟ้า

  • เครื่องปรับอากาศ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ปรับอุณหภูมิและความชื้นภายในห้อง หากเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศตลอดเวลาเป็นระยะเวลานานจะต้องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น นอกจากนี้ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศในที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือสภาพอากาศที่ร้อน ก็จะยิ่งทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเพื่อรักษาอุณหภูมิและความชื้นไว้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ

สรุป

จะเห็นได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ ดังนั้น การปรับใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การเปิดเครื่องปรับอากาศในอุณหภูมิที่เหมาะสมควบคู่กับการเปิดพัดลมเพื่อระบายความร้อน การปิดเครื่องทำน้ำอุ่นทันทีหลังเลิกใช้งาน รวมถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานการประหยัดพลังงาน โดยสังเกตจากฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ย่อมช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในบ้าน และช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดเงินได้ในระยะยาวอีกด้วย ส่วนในเรื่องของการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งเสี่ยงต่ออันตราย จึงต้องใช้อย่างระมัดระวังหากมีเครื่องตัดไฟรั่วก็จะช่วยในเรื่องของการป้องกันไฟฟ้าดูดได้

และสำหรับที่พักอาศัยขนาดใหญ่อย่างคอนโดมิเนียม โรงแรม หรือบ้านที่มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้อยู่สม่ำเสมอ อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือการเลือกติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน แข็งแรง ทนทาน ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อควบคุมระบบจ่ายไฟให้ทำงานอย่างปลอดภัยและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากไฟตก ไฟเกิน หรือไฟฟ้าลัดวงจรที่อาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายได้

 

KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ 

LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo

Facebook: facebook.com/KJLElectric