การติดตั้งรางไฟ สำหรับการเดินสายในงานไฟฟ้า

2022 - 04 - 28

การติดตั้งรางไฟสำหรับการเดินสายในงานไฟฟ้า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ


การเดินสายในงานระบบไฟฟ้า มีวิธีการออกแบบได้หลายวิธีตามลักษณะ รูปแบบการติดตั้งที่เหมาะสม และความปลอดภัย การเลือกใช้รางไฟสำหรับการเดินสาย ก็เป็นวิธีการติดตั้งที่วิศวกรไฟฟ้า นิยมออกแบบให้ช่างไฟฟ้าติดตั้งทั้งภายในและภายนอกอาคาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการใช้งาน โดยรางเดินสายไฟสำหรับการติดตั้งนั้น จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ แต่ก่อนจะเข้าถึงเรื่องของมาตรฐานนั้น KJL อยากให้ช่างไฟทุกท่านเข้าใจตรงกันก่อนว่า รางไฟ หลัก ๆ แล้วแบ่งออกเป็นกี่ประเภทกันแน่


ประเภทของรางไฟ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ


1. รางวายเวย์ (Wireway)


รางวายเวย์ จะมีลักษณะเป็นรางไฟแบบทึบ ไม่มีรูระบายอากาศ โดยจะช่วยป้องกันฝุ่นละอองและสัตว์เล็ก ๆ ได้ดี มีความแข็งแรง ทนทาน  ซึ่งรางวายเวย์สามารถใช้ได้ทั้งในโรงงาน อาคารบ้านเรือน ใช้ได้ทั้งในอาคารและกลางแจ้ง แต่ถ้าใช้กลางแจ้ง จะต้องเป็นรางไฟประเภทชุบฮอตดิปกัลวาไนซ์ เพราะรางไฟประเภทนี้ จะทนการกัดกร่อนของอากาศได้ดี ทำให้มีอายุการใช้งานได้นานกว่ารางไฟประเภทอื่น


2. รางเคเบิล (Cable Tray)


รางเคเบิล จะเป็นรางไฟที่มีช่องระบายอากาศ ทำให้การติดตั้งและการบำรุงรักษาด้วยรางไฟชนิดนี้จึงทำได้ง่าย ซึ่ง Cable Tray จะมีความแข็งแรงกว่ารางวายเวย์ และยังสามารถเดินสายไฟฟ้าได้ในจำนวนมาก โดย Cable Tray สามารถแบ่งออกได้อีก 3 ประเภท คือ รางเคเบิลแบบบันได แบบระบายอากาศ และแบบด้านล่างทึบ

2.1 รางเคเบิลแบบบันได (Cable Ladder)

Cable Ladder ที่นิยมใช้ ผลิตมาจากเหล็กแผ่นดำคุณภาพสูง เคลือบผิวด้วยการชุบฮอตดิปกัลวาไนซ์ หรือ การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน เหมาะสำหรับการวางสายเมนขนาดใหญ่ และงานนอกอาคารทุกสภาพแวดล้อม


2.2 รางเคเบิลแบบระบายอากาศ


เป็นรางเคเบิลที่มีช่องระบายอากาศ การติดตั้งสายไฟฟ้า และการบำรุงรักษาจึงทำได้ง่าย สามารถใช้ได้ทั้งโรงงานและอาคารทั่วไป จึงเหมาะกับการเดินสายไฟจากหม้อแปลงมาที่ตู้ MDB


2.3 รางเคเบิลแบบด้านล่างทึบ


เหมาะสำหรับการใช้เก็บสายไฟ สายโทรศัพท์ หรือสายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ  สามารถเดินได้ตามขอบผนังไม่ว่าจะเป็นด้านบนหรือด้านล่าง ก็สามารถทำได้สะดวกไม่สะดุดตา


มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย (วสท.2001-56)

ข้อกำหนดโครงสร้างของรางวายเวย์ (Wireway) และรางเคเบิล (Cable Tray)

  • มีโครงสร้างของรางที่แข็งแรงเพียงพอที่จะไม่เสียรูปภายหลังการติดตั้ง 
  • สามารถรับน้ำหนักสายไฟฟ้าทั้งหมดที่ติดตั้งได้ 
  • ไม่มีส่วนแหลมคมที่อาจทำให้ฉนวนและเปลือกสายไฟฟ้าเสียหาย
  • มีการป้องกันการผุกร่อนอย่างพอเพียงกับสภาพการใช้งาน

 

  
การติดตั้งรางไฟและการเดินสาย

การติดตั้งรางเดินสายไฟ จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดการเดินสายและวัสดุ ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ เช่นกัน  เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน ได้แก่ 

  • กรณีติดตั้งรางเดินสายไฟจะอนุญาตให้ใช้ได้ เฉพาะการติดตั้งรางไฟในที่เปิดโล่ง ซึ่งสามารถเข้าถึงเพื่อตรวจสอบ และบำรุงรักษาได้ตลอดความยาวของรางไฟ โดยมีข้อห้ามเดินรางวายเวย์ในฝ้าเพดาน เป็นต้น 
  • ส่วนกรณี Cable Tray นั้นก็เช่นกัน ต้องติดตั้งในที่เปิดเผย เข้าถึงได้ และใช้เครื่องประกอบการติดตั้งรางเคเบิลที่เหมาะสม รวมทั้งต้องมีที่ว่างพอเพียงที่จะปฏิบัติงานบำรุงรักษาสายเคเบิลได้โดยสะดวก และห้ามใช้รางเคเบิลในปล่องลิฟต์เป็นต้น 
  • ส่วนการเดินสายในรางไฟ ทั้งประเภทรางวายเวย์ และ Cable Tray ช่างไฟสามารถติดตั้งได้ทั้งสายไฟชนิดแกนเดียว และหลายแกน แต่กรณีเดินสายแกนเดียวใน Cable Tray นั้น มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯจะอนุญาตให้เฉพาะ เดินสายแกนเดียวชนิดมีเปลือกนอกเท่านั้น และขนาดไม่ต่ำกว่า 25 ตร.มม.


ทั้งนี้วิศวกรไฟฟ้าและช่างไฟฟ้าจะมีความมั่นใจได้อย่างแน่นอน เมื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รางวายเวย์ และ Cable Tray จาก KJL เพราะรางไฟของ KJL ทุกชิ้น ผลิตจากเหล็กที่มีคุณภาพ และเครื่องจักรที่ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น

สอบถามข้อมูลตู้ไฟ รางไฟ KJL ได้ที่

KJL LINE Official Account: @KJL.connect หรือ Click: https://lin.ee/lzVhFfo