เทคนิคการเข้าสายระหว่างตัวนำและเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ควรทราบ

2023 - 04 - 12

ภาพเปิดบทความเรื่อง วิธีต่อเบรกเกอร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ

นอกเหนือจากการออกแบบระบบไฟฟ้าให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมและมาตรฐานการติดตั้งที่เกี่ยวข้องแล้ว การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพและติดตั้งอย่างถูกวิธีก็สำคัญต่อความปลอดภัยของระบบการจ่ายไฟฟ้าแรงต่ำเช่นเดียวกัน ในบทความนี้ KJL จึงขอนำเสนอเทคนิคที่ช่างไฟควรทราบ เกี่ยวกับการเข้าสายหรือเชื่อมต่อตัวนำกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ตลอดจนบำรุงรักษาบริภัณฑ์ไฟฟ้าให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

 

การเข้าสายหรือเชื่อมต่อตัวนำกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ สำคัญอย่างไร? 

การเชื่อมต่อระหว่างตัวนำและอุปกรณ์ป้องกัน (Protective devices) เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากโดยปกติอุปกรณ์ประเภทตัวนำ ไม่ว่าจะเป็น สายไฟ (Cable) หรือบัสบาร์ (Busbar) จะถูกใช้เพื่อการเชื่อมต่อ หากการเชื่อมต่อระหว่างตัวนำกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ทำอย่างไม่ถูกวิธีหรือไม่เหมาะสม ก็อาจส่งผลให้จุดเชื่อมต่อดังกล่าวหลวม จนทำให้เกิดความร้อนสะสม และอาจเกิดเปลวไฟได้

 

ตัวนำแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง? 

ตัวนำสามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ระดับ (อ้างอิงตามมาตรฐาน IEC 60228) เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ได้แก่ 

1. ระดับ 1 ตัวนำเส้นเดี่ยว (Class 1: Solid conductors)

2. ระดับ 2 ตัวนำตีเกลียว (Class 2: Stranded conductors)

3. ระดับ 5 ตัวนำสายอ่อน (Class 5: Flexible conductors) 

4. ระดับ 6 ตัวนำสายอ่อนตัวมากเป็นพิเศษที่มากกว่าระดับ 5 (Class 6: Very flexible conductors) 

 

ทั้งนี้ สายไฟฟ้าชนิดระดับ 1 และ 2 จะเหมาะสมกับการติดตั้งประเภทยึดติดกับที่ (Fixed installation) ส่วนชนิดระดับ 5 และ 6 จะเหมาะสมกับการการติดตั้งที่ต้องการคุณสมบัติความอ่อนตัวของสายไฟทั้งแบบยึดติดกับที่และไม่ยึดติดกับที่ (fixed or mobile installations where connections subject to continuous bending) 

ในกรณีที่ต้องการติดตั้งสายไฟในระบบจำหน่ายแรงต่ำที่มีปริมาณกระแสไฟฟ้าสูง สายไฟฟ้าระดับที่ 2 และ 5 คือตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด

 

เทคนิคการเข้าสายหรือเชื่อมต่อตัวนำกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ 

การเชื่อมต่อสายไฟฟ้าเข้ากับเซอร์กิตเบรกเกอร์สามารถทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของชนิดขั้วต่อสายของเซอร์กิตเบรกเกอร์ตามที่ผู้ผลิตกำหนดและให้ช่างไฟฟ้าเลือกใช้งาน (Typologies of terminals) โดยทั่วไปช่างไฟฟ้าสามารถติดตั้งสายไฟฟ้าระดับที่ 1 และ 2 เข้าไปได้โดยตรงที่ลักซ์ (Lugs) หรือขั้วต่อสายของเซอร์กิตเบรกเกอร์ได้โดยตรงโดยระยะการเข้าสายรวมทั้งขนาดแรงการขันน็อต (Torque) ต้องเป็นไปตามคำแนะนำของผู้ผลิต เพื่อให้การเข้าสายแน่นเพียงพอและเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้ง การติดตั้งดังกล่าวสามารถกล่าวได้ว่าถูกต้องสะดวก และเพียงพอที่ทำให้เกิดความปลอดภัย ถ้าขนาดของลักซ์และขนาดสายไฟฟ้ามีความสอดคล้องกันดังรูปที่ 1 

วิธีต่อเบรกเกอร์ โดยการเข้าสายระหว่างตัวนำ

ทั้งนี้ หากขนาดของสายไฟฟ้าใหญ่กว่าขนาดของลักซ์จากเงื่อนไขการออกแบบและติดตั้ง ช่างไฟฟ้าสามารถเลือกใช้ประเภทขั้วต่อสายเป็นแบบชนิดบัสบาร์ โดยสายไฟฟ้าต้องมีการเข้าหางปลา เพื่อใช้เชื่อมต่อกับบัสบาร์ดังรูปที่ 2 การเชื่อมต่อวิธีนี้ช่างไฟฟ้าต้องมีความชำนาญและต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการทำงานมากขึ้น ตั้งแต่ระยะการปอกฉนวนสายไฟที่ต้องสัมพันธ์กับระยะเข้าสายของหางปลา (Copper compression lugs) เทคนิคการใช้คีมย้ำเพื่อให้สายไฟฟ้าและหางปลามีการยึดติดกันแบบแน่นตามมาตรฐาน การขันยึดน็อตเพื่อยึดติดระหว่างหางปลากับบัสบาร์ที่เชื่อมต่อ รวมทั้งจุดเชื่อมต่อระหว่างบัสบาร์กับขั้วของเซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นต้น

วิธีต่อเบรกเกอร์ โดยนำสายไฟต่อกับหางปลา

หากวิศวกรไฟฟ้าหรือช่างไฟท่านใด ต้องการรางไฟคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ขอแนะนำรางเคเบิลและรางเคเบิลแบบบันไดที่ผลิตและจำหน่ายโดย KJL 

  • ตัวรางผลิตจากเหล็กแผ่นดำคุณภาพสูง ความหนา 2.0 มิลลิเมตร
  • ออกแบบและควบคุมการผลิตด้วยระบบ Computer Numerical control (CNC)
  • โครงสร้างเป็นไปตามมาตรฐาน NEMA VE 1-2017
  • การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเป็นไปตามมาตรฐาน ASTM A123 / A123M ที่ความหนาเฉลี่ยของการเคลือบผิว 45-60 ไมครอน 
  • มีรางเคเบิลที่ทำจากสเตนเลส เหมาะสำหรับงานติดตั้งที่ต้องการวัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อนมากเป็นพิเศษ

สอบถามข้อมูลสินค้าตู้ไฟ รางไฟได้ที่ KJL LINE Official Account: @KJL.connect