ความยิ่งใหญ่ของพลังงานทดแทนในอีก 10 ปีข้างหน้า

2021 - 05 - 13

นวัตกรรม หรือ Innovation เป็นสิ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อทำให้การใช้ชีวิตของมนุษย์ง่ายดายขึ้น ซึ่งนวัตกรรมไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่จับต้องได้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงความคิดด้วย ซึ่งพลังงานทดแทนก็ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เราได้ยินกันมาอย่างยาวนาน นวัตกรรมก็เหมือนกับชีวิตของคนเราที่ต้องพัฒนา และก้าวไปข้างหน้าอยู่เสมอ ประโยชน์หลักของนวัตกรรมคือทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพสูง การมีนวัตกรรมทำให้สินค้า หรือบริการพัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้เราได้ในสิ่งที่ดีที่สุด เพราะถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อน

 

พลังงานทดแทนที่สำคัญ และเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของอุตสาหกรรมคือ พลังงานไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันที่กำลังเกิดสภาวะโรคระบาดอย่างรุนแรงส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ปิดตัวลง และต้องทำงานจากที่บ้าน ( Work From Home ) กันเป็นจำนวนมาก อุตสาหกรรมบางที่จึงมีความความต้องการไฟฟ้าที่ลดลง อาจจะเป็นเพราะธุรกิจที่ปิดตัว โดยประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีการระบาดครั้งแรกถือเป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของโลก ได้รับผลกระทบจากผลผลิตที่ลดลงอย่างมาก เพราะหลายคนต้องตกงานจากอุตสาหกรรมที่แบกรับภาระไม่ไหว

 

พลังงานทดแทนจึงเป็นทางเลือกที่ดีกับหลายภาคส่วน เพราะในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานโลกที่ยั่งยืนอย่างสมบูรณ์ภายในอีก 30 ปีข้างหน้าตามการวิจัย ซึ่งพลังงานโลกที่ยั่งยืนก็คือ การพึ่งพาธรรมชาติอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังน้ำ โดยจะสามารถลดการใช้พลังงานที่เป็นอยู่ และลดต้นทุนได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ประชากรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วิธีการที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนชีวิตของคนที่สำคัญจึงเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ “ แสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวสามารถตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของเราได้ เกือบทั้งหมด  ”

 

จากการศึกษาของต่างประเทศได้มีการศึกษาเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน มลพิษทางอากาศ และความไม่มั่นคงด้านพลังงาน พบว่าทั่วโลกจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานลม น้ำ และพลังงานแสงอาทิตย์ที่สะอาด 100% คาดว่าไม่เกินปี 2593 จะมีพลังงานทดแทนหมุนเวียนอย่างน้อย 80% ไปจนถึงภายในปี 2573 ดังนั้นความต้องการพลังงานทดแทนที่สะอาดจึงตรงกับอุปทานระหว่างปี 2593 ถึง 2595 ว่าหลังจากนี้จะเป็นไปได้ที่จะขับเคลื่อนโลกด้วยพลังงานที่ยั่งยืนทั้งหมด การเปลี่ยนไปใช้พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกจะช่วยลดผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศได้ 4 ถึง 7 ล้านคนต่อปี

 

 

การคาดการณ์การผลิตไฟฟ้าทั่วโลกจากวันนี้ไปจนถึงปี 2593

อนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายหลัก นอกจากทั่วทั้งโลกจะหันมาใช้พลังงานทดแทนที่มาจากธรรมชาติ หรือพลังงานสะอาดแล้วก็ยังเป็นผลดีกับภาวะโลกร้อนของทั่วทั้งโลก ส่งผลดีไปถึงการลดลงของผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม พายุ ความแห้งแล้ง และความรุนแรงอื่น ๆ ที่เกิดจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น การใช้พลังงานทดแทนยังทำให้มลพิษทางอากาศน้อยลงถึง 9 ใน 10 ซึ่งตามรายงานขององค์กรอนามัยโลกพบว่าผู้คนส่วนใหญ่มักจะหายใจเอาอากาศเสียเข้าไป ซึ่งอาจนำไปสู่โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคที่คุกคามชีวิตอื่น ๆ เพราะมลพิษส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่คร่าชีวิตผู้คนมากถึงเจ็ดล้านคนต่อปี โดยประเทศที่มีรายได้ต่ำ และปานกลางต้องแบกรับภาระสูงสุดในปัญหานี้ ซึ่งรวมถึงการได้รับควันพิษจากการใช้ไม้ถ่านหิน หรือมูลสัตว์เป็นเชื้อเพลิงหลักในการหุงต้ม อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานลม แสงอาทิตย์ และแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนอื่น ๆ จึงเป็นเป้าหมายหลักที่สามารถแก้ไขปํญหาเหล่านั้นได้

 

กังหันลม และแผงโซลาร์เป็นสิ่งที่แสดงถึงพลังงานหมุนเวียนที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีมาอย่างยาวนาน แหล่งพลังงานทั้งสองนี้สามารถมองเห็นได้ในหลายประเทศ ซึ่งการเติบโตของการใช้แผงโซลาร์เซลล์คิดเป็นร้อยละ 60 ของกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่ติดตั้งในปี 2019 แม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี เช่น Apple, Google และ Amazon ก็ลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะอุตสาหกรรมไหนก็เริ่มที่จะสนใจ และมาให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทน จริง ๆ แล้วแผงโซล่าเซลล์ไม่ใช่แค่ชุมชน หรือองค์กรใหญ่ใหญ่ที่จะสามารถติดตั้งได้ เพราะแผงโซล่าเซลล์สามารถติดตั้งได้ตั้งแต่ในระดับบ้านเรือนได้เลย

 

หลายคนจะมองว่าการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่บ้านนั้นจะเกินจริงไปหรือเปล่า? ไฟจะเพียงพอต่อความต้องการใช้งานไหม? อย่างที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า แผงโซล่าเซลล์จะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นเริ่มต้นดูก่อนว่าในเวลากลางวันเราจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหน การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ขึ้นอยู่กับพลังงานไฟฟ้าที่เพียงพอต่อการใช้งาน สามารถดูได้จากกิโลวัตต์ที่เราใช้ไปบนบิลค่าไฟ หากเราต้องการทราบว่าบ้านของเราจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่มีกำลังไฟเท่าไหร่สามารถคำนวนได้ดังนี้ เช่นในหนึ่งเดือนค่าเฉลี่ยในการใช้ไฟฟ้าของเราอยู่ที่ 600 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อเดือนให้นำมาหาร 30 วันก็จะอยู่ที่ 20 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่ง 1 กิโลวัตต์เท่ากับ 1,000 วัตต์ ดังนั้นแผงโซล่าเซลล์ที่จะนำมาผลิตไฟฟ้าในบ้านต้องอยู่ที่ 20,000 วัตต์ชั่วโมง

 

เคเจแอล (KJL) ผลิต ตู้คอนโทรล รางไฟ ตามมาตรฐานสากลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งระบบและเข้าถึงความต้องการสูงสุดของลูกค้า เริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบไปจนถึงกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ ตู้ไฟ รางไฟ ที่มีคุณภาพดีที่สุด โดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน เพื่อให้รองรับกับนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ว่าจะในอีก 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปีข้างหน้าเราก็สามารถตามได้ทันอย่างแน่นอน เพราะไฟฟ้าจะอยู่รอบตัวเราตลอดไป และใกล้กับเรามากขึ้นทุกวัน สินค้าของเคเจแอลจะเน้นประสิทธิภาพ ความถูกต้อง และตรงตามความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด โดยยึดหลักความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง