การกำหนดสายไฟฟ้าแรงต่ำบนรางเคเบิ้ล

2021 - 12 - 03

ภาพเปิดบทความเรื่องการกำหนดสายไฟฟ้าแรงต่ำบนรางเคเบิ้ล

การกำหนดสายไฟฟ้าแรงต่ำบนรางเคเบิ้ล

 

ข้อแนะนำต่อไปนี้สามารถใช้ในการเดินสายไฟฟ้าแรงดันต่ำได้ทั้งหมด ยกเว้นการเดินสายภายในมอเตอร์ ตู้ไฟ แผงควบคุม รวมถึงแผงสวิตช์ต่าง ๆ ซึ่งควรเป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เกิน 750 โวลต์ โดยสายไฟนั้นจะต้องทำด้วยทองแดง หรืออะลูมิเนียม แต่โดยทั่วไปจะเป็นสายทองแดง สายขนาดเล็กจะเป็นแบบสายตัวนำเดี่ยว ส่วนสายขนาดใหญ่จะเป็นตัวนำตีเกลียว โดยฉนวนที่ใช้งานจะเป็น PVC และ XLPE

ชนิดของสายไฟแรงดันต่ำ

  1. สายไฟชนิด THW

เป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำชนิดเดี่ยวที่สามารถรองรับแรงดันได้ 750V นิยมใช้งานกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะสามารถนำไปใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 เฟสได้ แต่สายไฟชนิดนี้ไม่เหมาะสำหรับการเดินฝังดินโดยตรง และในการเดินลอยจะต้องยึดสายด้วย Insulator  

  1. สายไฟชนิด VAF

เป็นสายไฟชนิดที่นิยมเดินภายในบ้านทั่วไปสามารถทนแรงดันได้ 300V โดยจะมีทั้งชนิดสายเดี่ยว สายคู่ และแบบสามสายที่รวมสายดินไปด้วย แต่ละสายก็จะมีฉนวนหุ้ม และมีเปลือกหุ้มที่เป็นฉนวนอยู่อีกหนึ่ฝงชั้นด้านนอก แต่ไม่สามารถใช้ในการติดตั้งไฟฟ้า 3 เฟสได้ แต่สามารถติดตั้งแบบแยกเป็นแบบ 1 เฟส และใช้แรงดัน 220V ได้

  1. สายไฟชนิด VCT

สามารถทนแรงดันได้ 750V ตัวสายเป็นแบบกลมมีทั้งชนิด 1 แกน ,2 แกน, 3 แกน และ 4 แกน โดยลักษณะจะเป็นสายที่ประกอบด้วยสายทองแดงฝอยเส้นเล็ก ๆ จึงทำให้สายมีความอ่อนตัว แต่ทนต่อการสั่นสะเทือนได้ดี อีกทั้งยังเป็นสายที่สามารถต่อลงดินได้

  1. สายไฟชนิด NYY

เป็นสายไฟอีกหนึ่งชนิดที่นิยมใช้เป็นอย่างมาก เป็นสายไฟชนิดกลมที่สามารถทนแรงดันได้ 750V มีทั้งแบบแกนเดียว และหลายแกน เพราะเป็นสายที่มีเปลือกหุ้มอีกชั้น เพื่อปกป้องสายไฟ สามารถเดินฝังใต้ดินได้

ข้อกำหนดสายไฟฟ้าแรงต่ำบนรางเคเบิ้ล

ในระบบที่มีแรงดันไฟฟ้าต่างกันอย่างไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และกระแสตรง (DC) สามารถติดตั้งสายไฟฟ้าแรงต่ำรวมกันได้ ถ้าฉนวนของสายไฟมีความเหมาะสมกับระบบแรงดันสูงสุดที่ใช้ แต่ข้อห้ามก็คือ ห้ามติดตั้งสายไฟฟ้าที่ใช้กับระบบแรงดันต่ำ รวมกับสายไฟระบบแรงสูง

ในการเดินสายไฟฟ้าแรงต่ำผ่านโครงสร้างที่เป็นไม้ รูที่เจาะใส่สายไฟจะต้องห่างจากขอบไม่น้อยกว่า 30 มม. และในกรณีที่ต้องเดินสายไฟที่เปลือกนอกไม่เป็นโลหะผ่านภายในโครงสร้างที่เป็นโละ เพื่อความปลอดภัยในการเจาะรูเพื่อเดินสายไฟฟ้าคือ การติดบุชชิ่งยางตรงที่เจาะรูด้วย

ในกรณีการเดินสายควบสายไฟฟ้าต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 50 ตร.มม.ควรเป็นสายชนิดเดียวกัน ขนาดเท่ากัน ความยาวเท่ากัน และมีการต่อสายแบบเดียวกัน ซึ่งในการเดินสายควบต้องเดินสายเฟสแยกกันไปในแต่ละชุด ห้ามนำสายแต่ละเฟสมาเดินสายรวมกัน

 ความลึกในการติดตั้งสายไฟฟ้าแรงดันต่ำใต้ดิน

  • ท่อโลหะหนา (RMC) และท่อโลหะหนาปานกลาง (IMC) ควรอยู่ใต้ผิวดินเพียง 0.15 m
  • ท่ออโลหะ เช่น ท่อ PVC และท่อ HDPE  , ท่อใยหินหุ้มคอนกรีตเสริมเหล็ก และท่าเดินสายอื่น ๆ ทั่วไป ควรอยู่ใต้ผิวดินเพียง 0.45 m
  • เคเบิลฝังดินโดยตรง ควรอยู่ใต้ผิวดินเพียง 0.60 m

การติดตั้งสายไฟฟ้าแรงดันต่ำใต้ดินเมื่อมีแผ่นคอนกรีตปิดทับ

  • คอนกรีตจะต้องมีความหนา 50 mm. หากเป็นท่ออโลหะ เช่น ท่อ PVC และท่อ HDPE รวมถึงท่อใยหินหุ้มคอนกรีตเสริมเหล็ก และท่อเดินสายแบบอื่น ๆ ควรอยู่ใต้ผิวดินเพียง 0.30 m
  • เคเบิลฝังดินโดยตรง ควรอยู่ใต้ผิวดินเพียง 0.45 m
  • การติดตั้งสายไฟฟ้าแรงดันต่ำใต้ดินบริเวณที่มีรถยนต์วิ่งผ่านท่อร้อยสายควรอยู่ใต้ดินประมาณ 0.60 m

การติดตั้งรางเคเบิ้ลสายไฟฟ้าแรงดันต่ำแบบลอดใต้อาคาร

  1. ต้องติดตั้งภายในท่อร้อยสาย
  2. ท่อร้อยสายต้องยาวเลยผนังด้านนอกของอาคาร

ระยะห่างสำหรับการยึดจับสายไฟในแนวดิ่ง

  • ขนาดของสายไฟฟ้าไม่เกิน 50 mm2  ระยะจับยึดต่ำสุดควรอยู่ที่ 30 m
  • ขนาดของสายไฟฟ้า 70-100 mm2  ระยะจับยึดต่ำสุดควรอยู่ที่ 24 m
  • ขนาดของสายไฟฟ้า 150-185 mm2  ระยะจับยึดต่ำสุดควรอยู่ที่ 18 m
  • ขนาดของสายไฟฟ้า 240 mm2  ระยะจับยึดต่ำสุดควรอยู่ที่ 15 m
  • ขนาดของสายไฟฟ้า 300 mm2  ระยะจับยึดต่ำสุดควรอยู่ที่ 12 m
  • ขนาดของสายไฟฟ้าที่น้อยกว่า 300 mm2  ระยะจับยึดต่ำสุดควรอยู่ที่ 10 m

 

สำหรับการกำหนดสีของสายไฟหุ้มฉนวนสำหรับเฟส 1 ควรเป็นสีดำ เฟส 2 ควรเป็นสีแดง และเฟส 3 ควรเป็นสีน้ำเงิน ตัวนำนิวทรัลควรใช้สีฟ้าและสุดท้ายสายดินที่ใช้ควรเป็นสีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง หรือเป็นสายแบบเปลือย

ในการลดผลของกระแสเหนี่ยวนำสายไฟแกนเดียวทุกเส้น และสายดินต้องติดตั้งในท่อร้อยสายเดียวกัน แต่ถ้าอยู่ในรางเดินสายไวร์เวย์ หรือรางไฟเคเบิ้ลเทรย์ ให้วางสายไฟเป็นกลุ่มเดียวกัน

 

การป้องกันความชื้นในท่อร้อยสายต้องอุดที่ปลายใดปลายหนึ่ง หรือทั้งสองปลายของท่อร้อยสายเพื่อป้องกันความชื้น ในการป้องกันสายไฟผุกร่อนไม่ว่าจะเป็นท่อร้อยสาย หรือรางเก็บสายไฟ ควรทำมาจากวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อม หากเลือกใช้รางไฟของ KJL ไม่ว่าจะเป็น รางไวร์เวย์ รางเคเบิ้ลเทรย์ หรือรางเคเบิ้ลแลดเดอร์ ก็สามารถมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยเพราะ KJL เน้นความปลอดภัยมาเป็นอันดับ 1 อีกทั้งรางไฟยังสามารถสั่งทำได้ทุกวัสดุ ทุกรูปแบบ รวมถึงสีที่มีให้เลือกหลากหลายเฉดสี งานไฟฟ้าจะเป็นเรื่องง่ายได้ด้วยตู้ไฟ รางไฟ KJL

 

KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น

สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ 

LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo

Facebook: facebook.com/KJLElectric