การเดินสายไฟฟ้าถือเป็นงานประจำของช่างไฟเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการเดินสายไฟในบ้านที่มีพื้นที่ไม่มาก ซึ่งก็จะไม่มีความซับซ้อนเท่ากับการเดินสายไฟในอาคาร หรือโรงงาน เพราะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ใช้ไฟเยอะ ก็อาจจะต้องมีตู้ไฟเป็นตู้คอนโทรลขนาดใหญ่เพื่อใช้ควบคุมไฟฟ้าการเดินสายไฟจึงอาจมีขั้นตอนที่เพิ่มมากขึ้น อุปกรณ์หลักที่ขาดไม่ได้คงจะเป็นตู้ไฟ รางไฟ
ช่างไฟหลายคนชินมือกับการเดินสายไฟจึงทำให้ละเลยความปลอดภัย นอกจากการพกพาอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่าง เช่น อุปกรณ์วัดกระแสไฟฟ้า รวมถึงชุดป้องกันตัวเองในการทำงานกับไฟฟ้า ก่อนหน้านี้เราเคยให้ความรู้เรื่อง การเดินสายไฟ ในรางเดินสายไฟ (รางไวร์เวย์ รางเคเบิ้ลเทรย์) กันไปแล้ว เรามาดูข้อควรระวังต่อไปนี้ที่ช่างไฟไม่ควรมองข้ามกันดีกว่า
ก่อนที่ช่างไฟทุกคนจะเริ่มปฏิบัติงานต้องมีการเตรียมตัวในด้านร่างกาย และอุปกรณ์มาเป็นอย่างดี เครื่องมือต้องพร้อม และอุปกรณ์ต้องครบ เช็คก่อนว่าไฟฟ้ามีการชำรุด แตกหัก ซึ่งก่อนที่จะปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นต่อสายไฟ เดินสายไฟ หรือซ่อมแซม ควรยก Cut Out ออกก่อน ที่สำคัญคือควรประเมินหน้างานว่าเป็นอย่างไรไม่ควรเสี่ยงอันตรายหากยังไม่แน่ใจและสิ่งที่อยากแนะนำก็คือ ในขณะปฏิบัติงาน มือ เท้า ต้องแห้ง หรือสวมรองเท้าสำหรับทำงานไฟฟ้าโดยเฉพาะ
ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าจะมีลักษณะเปราะบางที่จะค่อนข้างชำรุดฉีกขาดได้ง่าย ในการเดินสายไฟที่ไม่เรียบร้อย หรือมักง่ายก็อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้สายไฟชำรุดเสียหาย อาจทำให้เกิดอันตรายได้ในอนาคตหากช่างไฟต้องเข้าไปบำรุง หรือซ่อมแซม บางครั้งช่างไฟอาจจะไปพบเห็นว่าการต่อสายไฟฟ้าสำหรับใช้งานชั่วคราวมักจะใช้ตะปูตอกเพื่อกดทับไว้นั่นเป็นสาเหตุหลัก ๆ ในการชำรุดของสายไฟฟ้ากลายเป็นสายเปลือยไปจุดต่อต่างๆ ที่ต่อไว้โดยพันฉนวนป้องกัน
วิธีที่ป้องกันที่ดีคือการใช้รางไฟเพื่อปกป้องสายไฟจากการชำรุดเสียหาย และให้ง่ายต่อการทำงานของช่างไฟด้วย ช่างไฟควรหมั่นตรวจสภาพฉนวนของสายไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ อยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะตรงขั้วต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างขั้วหลอด ปลั๊ก ถ้าพบว่าชำรุดให้รีบซ่อมแซม หรือเปลี่ยนทันที
หากพื้นที่ไหนไม่มีตัวตัดวงจรไฟฟ้าต้องระมัดระวังเป็นพิเศษอย่างมาก จะทำให้ช่างไฟเสี่ยงอันตรายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เพราะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถตัดวงจรไฟฟ้าได้ทันที หากพบว่ามีสิ่งผิดปกติสำหรับงานไฟฟ้า หรือกระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกมา ซึ่งปกติวงจรไฟฟ้าจะต้องมีกระแสไฟฟ้าไหลในสายไฟทั้ง 2 สายเท่ากัน แต่ถ้าเกิดมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงดินผ่านตัวนำต่าง ๆ อุปกรณ์ตรวจสอบการรั่วของกระแสไฟฟ้าจะส่งสัญญาณไปยัง Breaker และตัดวงจรทันที ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน
เบื้องต้นสำหรับการเดินสายไฟนั้นไม่ควรนำฟิวส์ที่โตกว่าขนาดที่ใช้ เช่น ใช้ลวดทองแดงแทนฟิวส์รอยต่อสายไฟฟ้า อย่าลืมว่าต้องใช้ผ้าเทปพันสายไฟให้เรียบร้อย ให้ต่อวงจรให้เสร็จก่อนค่อยเอาปลายสายทั้งคู่เข้าแผงสวิทช์ สายเครื่องมือไฟฟ้าต้องใช้ชนิดหุ้มฉนวน 2 ชั้น ถ้าขาดต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งเส้นเมื่อเสร็จงาน ที่สำคัญคือก่อนจ่ายกระแสไฟฟ้า ควรตรวจสอบวงจรไฟฟ้าให้แน่ใจว่าถูกต้องแล้ว ดูการเชื่อมต่อทั้งหมดว่าถูกไหม และในขณะจ่ายกระแสไฟฟ้าต้องไม่มีใครกำลังปฏิบัติงานไฟฟ้าอยู่
ช่างไฟควรเลือกขนาดสายไฟให้เหมาะกับการใช้งาน และเหมาะกับการวางระบบไฟฟ้า ให้ควรคำนวนปริมาณไฟฟ้าที่จะใช้งาน หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมไม่ควรเลือกใช้สายไฟที่มีขนาดเล็กเกินไปก็จะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อาจทำให้สายไฟมีความร้อนสูง ส่งผลให้ฉนวนกันไฟฟ้าละลายจนทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
ช่างไฟฟ้าควรแยกวงจรให้เป็นส่วน ๆ สำหรับการติดตั้งระบบไฟฟ้าก่อน ไม่ควรเดินสายไฟทุกเส้น ทุกอย่างภายในอาคารให้อยู่ในสวิตช์เดียว หรือตู้ไฟตู้เดียว การแยกวงจรไฟฟ้าให้เป็นส่วน ๆ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย และช่วยให้การบำรุงซ่อมแซม และบำรุงรักษาง่ายขึ้น ที่สำคัญหากเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปริมาณไฟฟ้าสูงๆ ควรมีการแยกสวิตช์โดยเฉพาะ
ที่สำคัญควรมีรางไฟในการเดินสายไฟ ควรเลือกรางไฟที่มีความแข็งแรง ทนทาน ได้มาตรฐาน เพื่อปกป้องสายไฟและป้องกันอันตรายอย่าง ไฟช็อต ไฟดูด ไฟฟ้าลัดวงจร อีกทั้งในการใช้งานตามสภาพแวดล้อมอาจมีสิ่งต่าง ๆ เช่น ฝุ่น หยดน้ำ แมลง หรือสัตว์อื่นๆ ที่จะเข้าไปทำลายสายไฟ ซึ่งจะทำให้สายไฟชำรุดเสียหายได้
อย่างที่เราบอกเสมอว่าสายไฟฟ้ามักจะต้องมาคู่กับรางเก็บสายไฟ เพราะรางไฟเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันสายไฟจากสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
รางไฟ KJL ใช้นวัตกรรมพ่นสีฝุ่นที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมแบบ Epoxy powder coatings มาตรฐานจาก Jotun ทำให้โดดเด่นเรื่องความสวย รางไฟมีความเงางามพรีเมี่ยม และที่สำคัญคือแข็งแรง ทนทาน ทนต่อการขูดขีด ช่างไฟที่ใช้สินค้าของ KJL วางใจได้เรื่องความปลอดภัยอย่างแน่นอน