หลายครั้งเวลาที่เราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในสภาวะที่เกิดฝนตก ฟ้าผ่า หรือเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากในเวลาพร้อมกัน ก็มักจะเกิดความผิดปกติบางอย่างเช่น ไฟติด ๆ ดับ ๆ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าหยุดทำงานไปดื้อ ๆ สิ่งเหล่านี้เราเรียกกันว่า "ไฟกระชาก" ซึ่งเป็นปัญหาทางไฟฟ้าที่มักพบได้บ่อยครั้ง บทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักว่า ไฟกระชาก คืออะไร เกิดขึ้นจากอะไร และเราสามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง?
ไฟกระชาก (Surge) เป็นสภาวะที่แรงดันไฟฟ้าในระบบเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า หรือปัญหาภายในระบบไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร หรือการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟสูงมากเกินไป ส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่กำลังทำงานอยู่ ณ ขณะนั้นได้รับผลกระทบและเกิดความผิดปกติในการใช้งาน ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆ โดยไม่มีการแก้ไขก็อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบไฟฟ้าในระยะยาว
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
Transient Overvoltage เป็นการเกิดแรงดันไฟฟ้าเกินแบบฉับพลันในช่วงเวลาที่สั้นมาก เช่น 1/1,000,000 วินาที ซึ่งเป็นประเภทที่พบได้บ่อย และไม่ค่อยส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบไฟฟ้า เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อป้องกันไฟกระชากในรูปแบบนี้เป็นหลัก
Temporary Overvoltage เป็นการเกิดแรงดันไฟฟ้าเกินที่กินเวลายาวนานกว่าแบบแรก เช่น 1/1,000 วินาที ไปจนถึงหลักนาที และมีอันตรายต่อระบบไฟฟ้ามากกว่า เนื่องจากพลังงานไฟฟ้าจะสะสมอยู่ในระบบเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดความร้อนสูง และสร้างความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้
เมื่อเกิดไฟกระชาก อาการที่เรามักพบเห็นได้บ่อย ๆ ก็คือ ไฟกะพริบ ดับลงชั่วขณะ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานช้าลง หยุดทำงาน หรือทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังอาจพบเสียงดังผิดปกติจากมอเตอร์ กลิ่นเหม็นไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟ และในบางกรณี ไฟกระชากอาจทำให้ฟิวส์ขาด หรือเบรกเกอร์ทริป เพื่อตัดวงจรและป้องกันความเสียหายต่อวงจรไฟฟ้า
โดยส่วนใหญ่ไฟกระชากมักเกิดจาก 3 สาเหตุหลัก ๆ เหล่านี้ ได้แก่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีพายุ ฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากหากเกิดฟ้าผ่าในบริเวณใกล้เคียง จะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในระบบให้เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน นอกจากนี้ ลมกรรโชกและน้ำฝนอาจพัดกิ่งไม้หรือสิ่งแปลกปลอมไปพาดบนสายไฟ ส่งผลให้สายไฟเกิดความเสียหาย และเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ที่ก่อให้เกิดไฟกระชากภายในบ้านเรือนได้
สาเหตุนี้มักพบได้บ่อยกับบ้านเก่าที่สร้างมานานและอาจไม่ได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าอย่างถูกวิธี ซึ่งสังเกตด้วยตาเปล่าได้ยาก แต่มักมีสัญญาณผิดปกติบางอย่าง เช่น กลิ่นเหม็นไหม้ของสายไฟ เสียงไฟช็อต หรือเบรกเกอร์ตัดเองอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งหากไม่แก้ไขก็อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรและทำให้เกิดไฟกระชากได้
การเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟสูงพร้อม ๆ กัน เช่น เครื่องปรับอากาศ, คอมพิวเตอร์, เครื่องเสียง หรือการเสียบปลั๊กไฟจำนวนมากในปลั๊กพ่วงตัวเดียวกัน อาจทำให้เกิดการใช้ไฟฟ้าเกินพิกัด (โอเวอร์โหลด) ส่งผลให้มีแรงดันไฟเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่กำลังใช้งานอยู่
นอกเหนือจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว สาเหตุอื่น ๆ อย่างกระแสไฟฟ้าสูงเฉียบพลันหลังเกิดไฟตก หรือการจ่ายไฟที่ไม่สม่ำเสมอซึ่งเกิดจากความผิดพลาดของระบบจ่ายไฟฟ้า ก็มีส่วนทำให้เกิดไฟกระชากในวงจรไฟฟ้าได้เช่นกัน
เมื่อเกิดไฟกระชากภายในวงจรไฟฟ้า จะทำให้แรงดันไฟฟ้าในระบบเกิดความผันผวนอย่างกะทันหัน กล่าวคือแรงดันไฟฟ้าจะขึ้นสูงและลงต่ำกว่า 220V ในเวลารวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่างตามมา อาทิ
แม้ว่าไฟกระชากจะเป็นปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง แต่เราก็มีวิธีป้องกันที่จะช่วยลดความเสี่ยงของความเสียหายจากไฟกระชากได้ ดังนี้
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก (Surge Protector) จะทำหน้าที่ช่วยลดแรงดันไฟฟ้าเมื่อแรงดันเพิ่มสูงขึ้นชั่วขณะ และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าได้ ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้ว Surge Protector จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
หมั่นตรวจเช็กสภาพสายไฟ เต้ารับ และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านว่ามีรอยร้าว ฉนวนลอก ชำรุด หรือ เสื่อมสภาพหรือไม่ หากพบให้รีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันที เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายทางไฟฟ้า เช่น ไฟช็อต ไฟรั่ว ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดไฟกระชากในวงจร
อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโอเวอร์โหลด ซึ่งเป็นอีกสาเหตุของการเกิดไฟกระชาก คือการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น โดยเช็กจากขนาดของแอมแปร์บนมิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อที่จะคำนวณได้คร่าว ๆ ว่าควรใช้ไฟฟ้าไม่เกินกี่แอมป์ในเวลาเดียวกัน หรือหากสถานที่นั้น ๆ จำเป็นต้องเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ควรเลือกติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟส เพื่อรองรับการใช้งานไฟฟ้ากำลังสูง
ไฟกระชาก เป็นอีกหนึ่งปัญหาทางไฟฟ้าที่มักพบได้บ่อย ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มักมาจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา อาทิ ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า การติดตั้งสายไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงการใช้ไฟฟ้าเกินที่ระบบไฟฟ้ารองรับได้ ดังนั้น เราจึงควรวางแผนป้องกันและแก้ไขให้ถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานในระยะยาว รางไฟ จึงเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่างไฟจำเป็นต้องติดตั้งเมื่อมีการติดตั้งระบบไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสูงหรือความเสียหายต่อสายไฟ ซึ่งก่อให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรและเป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดไฟกระชากได้
KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่
LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo
Facebook: facebook.com/KJLElectric