คู่มือการติดตั้งระบบไฟฟ้า ให้ถูกต้องตามมาตรฐาน

2024 - 08 - 15

เนื่องจากไฟฟ้ามีอันตรายทั้งจากไฟฟ้าดูด (Electic shock), ไฟลวกจากความร้อนของประกายไฟ และการเกิดเพลิงไหม้ ดังนั้นส่วนที่มีไฟฟ้าของบริภัณฑ์*ที่มีแรงดันเกิน 50 V. ขึ้นไป (ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อบุคคล) จะต้องมีการกั้นเพื่อ ป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยบังเอิญ การกั้นอาจใช้เครื่องห่อหุ้มหรือวิธีการใดวิธีการหนึ่งที่เหมาะสม

*หมายเหตุ บริภัณฑ์ (Equipment) หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ

 

การติดตั้งระบบไฟฟ้า สำหรับระบบแรงต่ำ

ระบบแรงต่ำ หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างสายไม่เกิน 1,000 V การติดตั้งทางไฟฟ้าต้องมีการป้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ให้สัมผัสกับส่วนที่มีไฟฟ้าที่เป็นอันตราย โดยการกั้น ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

 

1. ติดตั้งระบบไฟฟ้าอยู่ในห้องหรือเครื่องห่อหุ้มที่มีลักษณะคล้ายกัน 

อนุญาตให้เข้าได้เฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น โดยปกติจะมีการใส่กุญแจด้วย

2. ติดตั้งติดตั้งไฟฟ้าในพื้นที่แยกส่วน 

เพื่อไม่ให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปได้ เช่น ติดตั้งบนระเบียง หรือบนกันสาด

3. ติดตั้งระบบไฟฟ้ายกขึ้นเหนือพื้น

หรือพื้นที่ทำงานไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร ซึ่งถือเป็นระยะที่เอื้อมไม่ถึง เช่น การติดตั้งหม้อแปลงบนนั่งร้าน

4. มีการกั้นแยกออกจากระบบแรงสูง

ในที่ซึ่งมีการติดตั้ง สวิตซ์ หรือบริภัณฑ์อื่นในระบบแรงต่ำ ต้องมีการกั้นแยกออกจากระบบแรงสูงด้วยแผ่นกั้น รั้ว หรือตาข่ายที่เหมาะสม

5. อยู่ในสถานที่ซึ่งมีแผงหรือรั้วตาข่ายกั้นที่ถาวรและเหมาะสม 

การติดตั้งไฟฟ้าสำหรับระบบแรงต่ำ จะต้องอยู่ในบริเวณที่ที่มีการกั้นพื้นที่อย่างชัดเจน และการเข้าไปยังที่ว่างซึ่งอาจสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าได้นั้น จะทำได้เฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ช่องเปิดใด ๆ ของที่กั้นหรือที่ใช้ปิดบังต้องมีขนาด หรืออยู่ในตำแหน่งที่บุคคลอื่นไม่อาจสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าได้โดยบังเอิญ หรือไม่อาจนำวัตถุซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้านั้นได้โดยบังเอิญ

 

การติดตั้งระบบไฟฟ้า สำหรับระบบแรงสูง

ระบบแรงสูง หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างสายเกิน 1,000 V  ซึ่งมีวิธีป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยบังเอิญ ดังนี้

 

1. การติดตั้งระบบไฟฟ้าในที่ปิดล้อม 

ติดตั้งระบบไฟฟ้าในห้องที่ปิดล้อมหรือบริเวณที่ล้อมรอบด้วยกำแพง ผนัง หรือรั้ว โดยมีการปิดกั้นทางเข้าด้วยกุญแจ หรือวิธีการอื่นที่ได้รับการรับรองแล้วโดยผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ ถือว่าเป็นสถานที่เข้าได้เฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น วิธีนี้เป็นการป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องและชนิดของเครื่องห่อหุ้มต้องออกแบบและสร้างให้สอดคล้องกับประเภทและระดับของอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งด้วย

กรณีเป็นกำแพง ผนัง หรือรั้ว ต้องมีความตั้งแต่ 2.0 เมตร ขึ้นไป หรือถ้าสูงน้อยกว่า 20 เมตร จะต้องมีสิ่งอื่นเพิ่มเติม ที่ทำให้การกั้นนั้นมีคุณสมบัติในการกั้นเทียบเท่ากำแพง ผนัง หรือรั้วที่มีความสูงไม่น้อยกว่า 2.0 เมตร เช่น รั้วของลานหม้อแปลง

 

2. การติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในอาคาร 

ในสถานที่ที่บุคคลทั่วไปเข้าถึงได้ การติดตั้งไฟฟ้าต้องเป็นไปตามแนวทาง ดังนี้

- เป็นบริภัณฑ์ที่อยู่ในเครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะ หรืออยู่ในห้อง หรือบริเวณที่ใส่กุญแจได้

- สวิตซ์เกียร์ที่อยู่ในเครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะ หน่วยสถานีย่อย (Unit Substation) หม้อแปลง กล่องดึงสาย กล่องต่อสาย และบริภัณฑ์อื่นที่คล้ายกัน ต้องทำป้ายหรือเครื่องหมายเตือนภัยที่เหมาะสม

- ช่องระบายอากาศของหม้อแปลงแบบแห้ง หรือช่องของบริภัณฑ์อื่นที่คล้ายกัน ต้องออกแบบให้วัตถุจากภายนอกที่อาจลอดเข้าไปให้เบี่ยงเบนพันไปจากส่วนที่มีไฟฟ้า 

 

3. การติดตั้งระบบไฟฟ้าภายนอกอาคาร 

ในสถานที่ที่บุคคลทั่วไปเข้าถึงได้ การติดดั้งทางไฟฟ้าต้องอยู่ในเครื่องห่อหุ้ม หรือวิธีการอื่นที่ได้รับการรับรองแล้วว่าปลอดภัย

 

4. ข้อกำหนดอื่น ๆ ในการติดตั้งระบบไฟฟ้า สำหรับระบบแรงสูง

  • สถานที่ซึ่งบริภัณฑ์ไฟฟ้าอาจได้รับความเสียหายทางกายภาพ

ในสถานที่ซึ่งบริภัณฑ์ไฟฟ้าอาจได้รับความเสียหายทางกายภาพได้ ต้องกั้นด้วยที่กั้นหรือเครื่องห่อหุ้มที่มีความแข็งแรง ที่จะป้องกันความเสียหายนั้นได้

  • เครื่องหมายเตือนภัย 

ทางเข้าห้องหรือที่กั้นที่มีส่วนที่มีการติดตั้งระบบไฟฟ้าอยู่ภายในและเปิดโล่ง จะต้องมีเครื่องหมายเตือนภัยที่ชัดเจนและเห็นได้ง่าย เพื่อห้ามบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไป

  • ส่วนที่มีประกายไฟ 

ส่วนของบริภัณฑ์ซึ่งในขณะใช้งานปกติทำให้เกิดอาร์ก ประกายไฟ เปลวไฟ หรือโลหะหลอมเหลว ต้องมีการหุ้มหรือปิดกั้น และแยกจากวัสดุที่ติดไฟได้

  • การทำเครื่องหมายระบุเครื่องปลดวงจร 

เครื่องปลดวงจรที่ใช้สำหรับมอเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สายเมน สายป้อน หรือวงจรย่อยทุกเครื่อง ต้องทำเครื่องหมายระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ติดไว้ที่เครื่องปลดวงจรหรือใกล้กับเครื่องปลดวงจรนั้น นอกจากว่าตำแหน่งและการจัดเครื่องปลดวงจรนั้นชัดเจนอยู่แล้วเครื่องหมายต้องชัดเจนและทนต่อสภาพแวดล้อม

  • ระยะห่างทางไฟฟ้า 

การติดตั้งไฟฟ้าต้องมีระยะห่างระหว่างตัวนำไฟฟ้าที่มีไฟกับอาคาร หรือสิ่งก่อสร้าง เพื่อความปลอดภัย ตามที่กำหนดในตารางที่ 1 และ ตารางที่ 2

การวัดระยะห่างทางไฟฟ้าให้วัดระยะในแนวตรงจากผิว (Surface) ของส่วนที่มีแรงดันไฟฟ้า (สายไฟ ตัวนำไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า) ไปยังผิวของส่วนที่ไม่มีแรงดันไฟฟ้าหรือไปยังสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ที่สุด

 

ความสูงของสายไฟฟ้าเหนือพื้นในการติดตั้งระบบไฟฟ้า

สิ่งที่อยู่ใต้สายไฟฟ้า

ระยะห่าง (ม.)

ระบบแรงต่ำ

ระบบแรงสูง

ทางสัญจรและพื้นที่ที่จัดไว้ให้รถยนต์ผ่าน แต่ไม่ใช่รถบรรทุก

2.90

4.60

ทางสัญจรและพื้นที่อื่น ๆ ที่ให้ทั้งรถยนต์และรถบรรทุกผ่านได้

5.50

6.10

คลองหรือแหล่งน้ำ กว้างไม่เกิน 50 ม. ปกติมีเรือสูงไม่เกิน 4.9 ม. ผ่าน

6.80

7.70

คลองหรือแหล่งน้ำที่ไม่มีเรือแล่นผ่าน

4.30

5.20

ตารางที่ 1 ความสูงของสายไฟฟ้าเหนือพื้น

 

หมายเหตุ
1. ระบบแรงต่ำ หมายถึงระบบที่มีแรงดันระหว่างสายไม่เกิน 1,000 V.
2. ระบบแรงสูง หมายถึงระบบที่มีแรงดันระหว่างสายเกิน 1,000 V. ในตารางนี้ใช้กับแรงดันไม่เกิน 33 KV.

 

ระยะห่างของสายไฟฟ้าจากอาคาร ในการติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูง (แรงดันไม่เกิน 33 KV)

ระยะห่างระหว่างสายไฟฟ้ากับอาคาร

ตามชนิดของสายไฟฟ้า

ระยะห่างต่ำสุด (ม.)

เปลือย

APC

(PIC)

ASC

(SAC)

กับผนังและส่วนของอาคารปิดหรือมีการกั้น

1.50

0.60

0.30

กับหน้าต่าง เฉลียง ระเบียง หรือบริเวณที่คนเข้าถึงได้

1.80

1.50

0.90

อยู่เหนือหรือใต้หลังคา หรือส่วนของอาคารที่ไม่มีคน

3.00

3.00

1.10

อยู่เหนือหรือใต้ระเบียง และหลังคาที่มีคน หรือเข้าถึงได้

4.60

4.60

3.50

เหนือหลังคา หรือสะพานลอยคนเดินข้ามถนน

3.00

3.00

1.10

ตารางที่ 2 ระยะห่างของสายไฟฟ้าจากอาคารระบบแรงสูง (แรงดันไม่เกิน 33 KV)

หมายเหตุ
1. APC (PIC) หมายถึง สายหุ้มฉนวนแรงสูงไม่เต็มพิกัด
2. ASC (SAC) หมายถึง สายหุ้มฉนวนแรงสูง 2 ชั้นไม่เต็มพิกัด

 

การติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง การปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัยและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ไม่ต่างกับการใช้ตู้ไฟและรางไฟ ที่ต้องใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพื่อให้การติดตั้งระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ 

LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo

Facebook: facebook.com/KJLElectric